บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

สัมผัสศิลปะและวัฒนธรรมด้วยพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น

พิธีชงชา 

พิธีชงชา หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าซะโด (Sadou) หรือ ฉะโด (Chadou) แปลว่าวิถีแห่งชา เป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่แฝงให้เห็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มีความเรียบง่าย ประณีต และพิถีพิถัน ชาที่นำมาใช้ชงนั้นเป็นชาบดจนเป็นผงละเอียดเรียกว่ามัทฉะ (Matcha) ขั้นตอนการชงคือตักมัทฉะใส่ถ้วย ตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป ใช้ไม้คนจนชาเป็นฟองก็เป็นอันเสร็จ จากนั้นก็ยกถ้วยชาเสิร์ฟให้กับแขก ซึ่งมักจะดื่มคู่กับขนมหวานชิ้นเล็กๆ เพื่อตัดความขมของชา

 

 

ประวัติความเป็นมา

การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมจากประเทศจีนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น โดยพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญแล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น
ในอดีตการดื่มชาเป็นที่นิยมกันในหมู่นักรบ ขุนนาง ตลอดจนพ่อค้าชาวเมืองที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่ต่อมาท่าน เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu) ได้ทำให้พิธีชงชากลายเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีแบบแผนอย่างในปัจจุบัน โดยตัดรูปแบบการเลี้ยงชาที่ฟุ่มเฟือยออกไป เน้นความเรียบง่าย จริงใจ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยจิตใจที่สงบและบริสุทธิ์ โดยมีหลักของศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) เข้ามาด้วย

อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชา

apr20_sadou_06
  1. คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
  2. นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ
  3. ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา
  4. ชะฉะคุ (Chashaku) ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก ทำจากไม้ไผ่
  5. ชะเซน (Chasen) อุปกรณ์สำหรับคนชา ทำจากไม้ไผ่
  6. ชะวัง (Chawan) ถ้วยชาขนาดใหญ่ แตกต่างไปตามฤดูกาล
  7. ชะคิง (Chakin) ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดถ้วยชา ทำจากป่าน
  8. ฮิชะคุ (Hishaku) กระบวยสำหรับตักน้ำชงชา

พิธีชงชา

apr20_sadou_03
apr20_sadou_04

รูปแบบการจัดพิธีชงชามักจัดในห้องชงชาซึ่งเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อยที่แสดงวัฒนธรรมแบบ “วะ (Wa)” ของญี่ปุ่น เรียกการชงชาว่า “เทะมะเอะ (Temae)” ชาที่ใช้ชง โดยทั่วไปจะ มี 2 แบบ ได้แก่

  1. โคอิฉะ (Koicha) ชารสเข้ม นิยมชงในถ้วยใหญ่ ดื่มกันหลายคน จึงชงให้มีรสชาติเข้มข้นเป็นพิเศษ
  2. อุซุฉะ (Usucha) ชารสอ่อน นิยมชงในถ้วยเล็ก สำหรับดื่มคนเดียว โดยทั่วไปมักจะพบเห็นชาแบบนี้

ลำดับในพิธีชงชา

  1. เสิร์ฟขนมและทานขนมให้หมดก่อนเริ่มเสิร์ฟชา
  2. ผู้ชงชาใช้ช้อนตักผงชาหรือชะฉะคุ (Chashaku) ตักชาจากโถใส่ลงในถ้วยชา
  3. ผู้ชงชาใช้กระบวยตักน้ำหรือฮิชะคุ (Hishaku) ตักน้ำร้อนใส่ถ้วยชา
  4. ผู้ชงชาใช้อุปกรณ์สำหรับคนชาหรือชะเซน (Chasen) คนชาให้เข้ากันจนชาแตกฟอง
  5. ผู้ดื่มชายกถ้วยชาขึ้นมาด้วยมือขวา แล้ววางลงบนฝ่ามือซ้าย
  6. หมุนถ้วยชาตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้ส่วนหน้าของถ้วยชาที่มีลวดลายหันออกด้านที่ผู้อื่นมองเห็น แล้วค่อยดื่มด่ำกับชา
  7. หลังจากดื่มชาแล้ว เช็ดขอบถ้วยตรงบริเวณที่ดื่ม แล้วหมุนถ้วยชาทวนเข็มนาฬิกา 3 ครั้ง
  8. วางถ้วยชาลงที่เดิมพร้อมคำนับเพื่อเป็นการขอบคุณ

มารยาทของพิธีชงชา

1. โอะซะกินิ (Osakini)
โดยปกติแล้วตามงานพิธีชงชาจะจัดให้อยู่ในฝั่งรับน้ำชา มารยาทแต่ละขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กลุ่ม โดยส่วนใหญ่แล้วฝั่งที่เป็นฝ่ายรับน้ำชา จะมีคำพูดที่ใช้คือ “โอะซะกินิ” หมายความว่า ขออนุญาตทานก่อนนะคะ/ครับ เพื่อไม่ให้เสียมารยาทกับคนที่นั่งร่วมโต๊ะด้วย การกล่าวถือเป็นมารยาทที่สำคัญมากสำหรับพิธี

2. ห้ามดื่มชาด้านหน้าของถ้วยชา
หลังจากที่ได้รับการแจกจ่ายน้ำชา ต้องระวังอย่าดื่มน้ำชาจากด้านหน้าของถ้วยชา เพราะถ้วยชานั้นจะถูกส่งผ่านมาให้ โดยจะหันด้านหน้าถ้วยชามาทางด้านผู้รับ ส่วนฝั่งผู้รับนั้นจะชื่นชมความงามของลายถ้วยน้ำชา ดังนั้นถือเป็นมารยาทที่ต้องไม่ทำให้ด้านหน้าของถ้วยชานั้นเปื้อนโดยการเปลี่ยนมุมดื่มน้ำชา ใช้มือขวาประคองและหมุนถ้วยชาเล็กน้อย ให้ด้านหน้าของถ้วยชาเยื้องออกไป จึงสามารถดื่มน้ำชาได้ และไม่ควรดื่มที่เดียวจนหมด ควรที่จะแบ่งดื่มให้ได้สักสองถึงสามครั้ง