ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (fushimi inari) แห่งเกียวโต เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับความชื่นชมจากผู้มาเยือน เป็นแลนด์มาร์กอีกหนึ่งแห่งของเกียวโต ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า
ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ เป็นศาลเจ้าที่มีความเก่าแก่มากกว่าพันปี สร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.711 บนยอดเขา ภายหลังในปี ค.ศ. 816 ก็มีการย้ายศาลเจ้ามาในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน สำหรับเสาโทริอิที่เรียงรายคาดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ ช่วงปี 1603-1868 จากหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ ตัวศาลเจ้าผ่านวิกฤษหลายครั้ง ทั้งสงคราม และการโจมตีแต่ภายหลังได้มีการบูรณะให้สวยงาม ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และสถาปัตยกรรมที่งดงามนี่เองจำให้ ศาลเจ้าหลักถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เเละเนื่องจากเทพอินาริที่เป็นเทพแห่งข้าวและการเพาะปลูกมีความเชื่อว่ามีอีกรูปลักษณ์ที่เป็นเทพเจ้าจิ้งจอก สุนักจิ้งจอกจึงเป็นอีกสํญลักษณ์ให้ผู้คนคิดถึงที่นี่ จิ้งจอกนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
จุดไฮไลท์ที่ 1 : ศาลเจ้าเทพอินาริ (Fushimi Inari Shrine) ที่เรามักเรียกว่าศาลเจ้าแดง หรือศาลเจ้าจิ้งจอก เป็นศาลเจ้าที่โด่งดังมากของประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่า เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเกียวโต ซึ่งเราจะเห็นงานประติมากรรมรูปจิ้งจอกมากมายหลายแห่งในศาลนี้เลย และก่อนทางเข้าก็มีธรรมเนียมให้ ล้างมือ ล้างปาก ซึ่งจะมีที่ให้ล้างมือ ล้างปากให้ด้วย เรียกว่า อ่างน้ำ Temizuya
จุดไฮไลท์ที่ 2 : ประตูโทริอิ (Torii Gate) ที่เรียงล้อมไหล่เขา หลายหมื่นต้น จะเป็นทางเดินทั่วภูเขาอินาริ โดยเสาโทริอิสีแดงมาจากการบริจาคขององค์กรและบุคคลต่าง ๆ โดยเขาจะมีเขียนตัวหนังสือหลังเสาที่มาของซุ้มประตูโทริอิ (Torii) คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ที่ตั้งให้คนรู้ว่าที่นี่คืออาณาเขตของเทพเจ้า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนอกจากที่นี่เรายังสามารถเห็นซุ้มประตูโทริอิ ตามศาลเจ้าต่าง ๆ
จุดไฮไลท์ที่ 3 : ชมและสักการะศาลเจ้าเล็ก ๆ อยู่ตลอดทาง ในระหว่างทางเดินไป ศาลเจ้าเทพอินาริ เราจะเห็นศาลเจ้าเล็ก ๆ ที่มีการไหว้ มีการห้อยป้ายต่าง ๆ ตลอดทาง
จุดไฮไลท์ที่ 4 : ทางเข้าวัดตรงทางเดินเราจะเห็นร้านขายอาหารญี่ปุ่นมากมาย มีความน่าทานมาก แต่ละร้านก็จะตั้งชื่อให้เข้ากับจิ้งจอกเช่น ซูชิจิ้งจอก ของทอดจิ้งจอก อูด้งจิ้งจอก เป็นต้น
เพราะเป็นศาลเจ้าที่มีความสำคัญ ที่นี่จึงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ หากใครมาเที่ยวได้ถูกเวลาอาจจะได้ชมประเพณีเก่าแก่ของเกียวโตได้ที่นี่