บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

Category

บทความทั่วไป

จากเด็กน้อยแข็งแรงน่าอัศจรรย์ มาเป็นนักรบผู้กล้า…“คินทาโร่” เจ้าหนูทองคำ นานมาแล้วมีองค์รักษ์คู่ใจจักรพรรดิคนหนึ่งชื่อว่า Sakata Kurando เขาเก่งในเรื่องศิลปะการต่อสู้ แต่เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ และมีภรรยาที่แสนจะน่ารักชื่อว่า Yaegiri ด้วยความที่เป็นคนโปรด จึงถูกขุนนางที่อิจฉาใส่ความ และถูกไล่ออกจากวังที่เกียวโต กลายเป็นโรนิน (Ronin) หรือซามูไรผู้ไร้เจ้านาย ชีวิตของพวกเขาจึงตกต่ำและยากจนลง Kurando ไม่สามารถทนรับชะตากรรมไหว จึงฆ่าตัวตาย ส่วน Yaegiri ภรรยาม่ายผู้โศกเศร้าก็ย้ายไปอยู่ยังที่ห่างไกลแถบภูเขาอาชิงาระ (Mt. Ashigara) และคลอดลูกชายของ Kurando คนหนึ่ง เด็กคนนี้ชื่อว่าคินทาโร่ (Kintaro) เกิดมาก็แข็งแรงอย่างน่าอัศจรรย์ กล่าวกันว่าสามารถเดินและวิ่งได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว เมื่อออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน คินทาโร่จะใส่ 腹掛け (haragake) สีแดง ซึ่งเป็นเอี๊ยมที่เด็กเล็กๆ ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนนิยมใส่กัน ซึ่งแม่ของคินทาโร่ได้ปักตัวอักษร “Kin” ที่แปลว่าทองไว้บนเสื้อด้วย เพื่อนๆ ของคินทาโร่ คือเหล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่บนภูเขา เช่น กระต่าย ลิง และหมี สัตว์ทุกตัวรักคินทาโร่ พวกเขามักจะเล่นซูโม่กัน แต่ไม่เคยมีใครชนะคินทาโร่ได้ แม้แต่หมีซึ่งยอมให้เขาขี่หลังไปไหนมาไหนอยู่เสมอ วันหนึ่งคินทาโร่ถือขวานคู่ใจ อาวุธประจำกายของเขา...
Read More
คิวโด (弓道) มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับกีฬายิงธนูสากล แต่ก็มีองค์ประกอบทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คิวโดเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักของญี่ปุ่น ฝึกฝนโดยทั้งผู้เรียนและปรมาจารย์ ถูกพัฒนาขึ้นโดยเหล่านักรบซามูไรและพระในสายเซนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ส่งผลให้เกิดศิลปะแห่งความงาม ทักษะ และความละเมียดละไม คิวโดคืออะไร? คิวโดเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่มีพื้นฐานมาจากการยิงธนูแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม และแปลว่า ‘วิถีแห่งธนู’ เดิมทีได้รับการพัฒนาสำหรับการล่าสัตว์และถูกพัฒนาจนสมบูรณ์แบบโดยซามูไร มันได้รับบทบาทให้เป็นวิถีทางจิตวิญญาณและได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนาสายเซน (ฌาณ) ปัจจุบัน มีการฝึกฝนคิวโดไปทั่วโลก และถือเป็นเส้นทางสู่ความสงบทางจิตวิญญาณ ความจริง และความงาม ประวัติความเป็นมาของคิวโด การยิงธนูนั้นเป็นศาสตร์ที่ฝึกฝนกันโดยเหล่านายพรานทั่วโลกมานานหลายศตวรรษ และแม้ว่ามันอาจเริ่มต้นมาจากความต้องการพื้นฐาน คิวโดก็ได้พัฒนาเป็นศิลปะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศิลปวัตถุเกี่ยวกับการยิงธนูที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นมีขึ้นในยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล – 300 ปีหลังคริสตกาล) และภาพที่วาดจากยุคหินตอนปลายในญี่ปุ่นแสดงให้เห็นตำแหน่งที่โดดเด่นของที่จับ (เรียกว่า นิกิริ 握り) ที่ปลายล่างสุดของคันธนูขนาดใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงความเก่าแก่ของการออกแบบคันธนูแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ในช่วงที่ปกครองโดยระบบศักดินาของญี่ปุ่น (1185-1600) วิชายิงธนูได้รับการฝึกฝนโดยผู้ที่อยู่ในวรรณะซามูไรควบคู่ไปกับวิชาดาบ ในขณะที่อย่างหลังนั้นเป็นที่รู้จักมากกว่า แต่อย่างแรกซึ่งเรียกว่า คิวจุตสึ (弓術 ศาสตร์แห่งธนู) ก็มีคุณค่ามากและมักใช้เป็นเครื่องระบุว่าซามูไรคนนั้นเป็นนักรบมืออาชีพ มักใช้ขณะอยู่บนหลังม้า ทักษะที่จำเป็นในการยิงให้ได้ประสิทธิภาพก็มากโข จึงมีโรงเรียนสอนยิงธนูเปิดสอนในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 15 Heki Danjo...
Read More
วากาชิ (Wagashi) คืออะไร วากาชิ คือ ขนมหวานญี่ปุ่นโบราณ วัตถุดิบหลักคือถั่วแดงและแป้งข้าวเหนียว มักใช้กรรมวิธีนึ่ง เผา ปิ้ง หรือปั้นในการทำ โดยตัวอักษรว่า วะ (和) หมายถึง ญี่ปุ่น และ กาชิ (菓子) แปลว่าขนม วากาชิทั้งเป็นของว่างยามบ่าย ใช้ในพิธีชงชา และมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญต่างๆ วากาชิ ส่วนมากรสหวานแหลม จึงนิยมทานกับชาเขียวรสขมที่ตัดรสกันเป็นอย่างดี วากาชิที่เราคุ้นเคยได้แก่ โมจิ ดังโงะ ไดฟุกุ เนริกิริ โยกัง เซมเบ้ เป็นต้น ศิลปะทั้ง 5 ของ วากาชิ 1 รูปลักษณ์ภายนอก นอกจากหน้าตาสีสันที่สวยงามน่ารับประทานแล้ว วากาชิยังมักสื่อถึงฤดูกาลอีกด้วย 2 รสชาติ การรับรูรสชาติที่สำคัญของวากาชิคือการรับรสชาติของวัตถุดิบจากธรรมชาติ 3 รสสัมผัส หากเป็นขนมที่มีความนุ่มก็จะนุ่มละมุนลิ้น ให้ความรู้สึกเหมือนละลายในปาก ส่วนขนมที่มีความกรอบก็จะกรอบแข็งกำลังดี 4 กลิ่น วากาชิจะมีกลิ่นหอมละมุนของตัววัตถุดิบ เช่น ข้าว...
Read More
ย้อนประวัติศาสตร์ “ราเม็ง” อาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่นที่มีอายุกว่า 139 ปี ตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ต้นกำเนิดของราเม็งมาจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นโดยชาวจีนอพยพในต้นศตวรรษที่ 20 ช่วงการปฏิรูปเมจิ ส่วนคำว่า “ราเม็ง” (ラーメン ) มาจากภาษาจีน “ลาเมี่ยน” (拉麺) ซึ่งมีความหมายว่า “เส้นก๋วยเตี๋ยวที่นวดด้วยมือ” เมื่อปีค.ศ. 1884 ร้านอาหารญี่ปุ่นร้านแรกที่มีการเสิร์ฟราเม็ง คือร้าน “โยวะเคน” (養和軒) ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1910 ได้มีราเม็งร้านแรกของประเทศญี่ปุ่นชื่อว่าร้าน “ไรไรเคน” (来々軒) ย่านอาซาคุสะ กรุงโตเกียว ด้วยรสชาติที่นำมาปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงของญี่ปุ่นแท้ ๆ อย่างโซยุและเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น จึงทำให้เมนูชนิดนี้มีรสชาติกลมกล่อม และแปลกใหม่ กลายเป็นเมนูจานโปรดของหลาย ๆ คน กระทั่งถูกยกให้เป็นอีกเมนูอาหารญี่ปุ่นที่โด่งดังไปทั่วโลกในเวลาต่อมา     น้ำซุปประเภทต่าง ๆ ของราเม็ง ปัจจุบันราเม็งมีหลากหลายรสชาติ มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ โดยจะแบ่งตาม เส้นบะหมี่ เครื่องเคียง และน้ำซุป สามอย่างนี้เป็นหลัก ซึ่งน้ำซุปยอดนิยมมีดังนี้ 1. โชยุราเม็ง (Shoyu Ramen) (醤油ラーメン) หรือซุปซีอิ๊วญี่ปุ่น ราเม็งสูตรดั้งเดิมที่ใช้โชยุ หรือซีอิ้วญี่ปุ่น เป็นส่วนผสมหลักในน้ำซุป ลักษณะสีน้ำตาลใส...
Read More
รู้จัก คาบูกิ (Kabuki) : ละครโบราณสุดอลังการของญี่ปุ่น คืออะไร?   คาบูกิ (Kabuki) คือ ศิลปะการแสดงของญี่ปุ่นโบราณ มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปีตั้งแต่สมัยเอโดะ ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ละครคาบูกิประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ และการแสดง ผู้แสดงเป็นชายล้วน แต่งหน้าฉูดฉาด แต่งกายอลังการ แสดงอย่างคล่องแคล่วสนุกสนาน เรื่องราวที่นำมาเล่นคาบูกิมีหลากหลาย เช่น เรื่องย้อนยุค ซามูไร วีรบุรุษ ความรัก โศกนาฏกรรม ซึ่งมักดัดแปลงมาจากวรรณกรรมชื่อดัง ประวัติของคาบูกิ กล่าวกันว่าคาบูกิถือกำเนิดในช่วงต้นเอโดะ มีที่มาจากการแสดงของหญิงสาวชื่อว่า อิซุโมะโนะ โอคุนิ โดยเธอได้แต่งเป็นผู้ชาย แต่งกายฉูดฉาดและเต้นรำแปลกตาจนได้รับความนิยม คาบูกิในช่วงแรกจึงใช้นักแสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด แต่ต่อมาเกิดข่าวฉาวเรื่องโสเภณี จึงกำหนดให้ผู้แสดงเป็นผู้ชายเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกว่า อนนะงาตะ (Onnagata) เอกลักษณ์ของคาบูกิ ต่างจากละครโนห์ที่เป็นการแสดงชั้นสูง คาบูกิเป็นการแสดงละครสำหรับชาวบ้านทั่วไป จึงเป็นการแสดงที่สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ เรื่องราวที่นำมาเล่นได้แก่ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ตำนานซามูไรหรือวีรบุรุษ เรื่องราวในชีวิตของชาวบ้าน เช่น ความรัก...
Read More
การเเต่งชุดกิโมโน (Kimono) กิโมโน (kimono) ถือเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ปัจจุบันนิยมใส่ในโอกาสพิเศษ เช่น งานเทศกาล พิธีต่างๆ เป็นต้น กิโมโนบางประเภทถือเป็นชุดพิธีการอย่างหนึ่ง คำว่ากิโมโน แปลตรงตัวคือ สิ่งที่ใช้สวมใส่ เพราะเป็นเครื่องแต่งกายที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนสวมใส่กันในชีวิตประจำวัน เมื่อเข้ายุคเมจิ เสื้อผ้าแบบตะวันตกเริ่มแพร่หลาย บทบาทของกิโมโนจึงถูกลดทอนเป็นชุดที่ใส่ในโอกาสพิเศษไป วิธีใส่กิโมโน ใส่ถุงเท้าที่เรียกว่า ทาบิ (Tabi) ซึ่งเป็นถุงเท้าทรงสองนิ้ว ซึ่งพอแต่งเต็มยศแล้วจะก้มลงสวมถุงเท้าลำบาก จึงแนะนำให้สวมถุงเท้าก่อนเป็นอย่างแรก สวมเสื้อตัวในซึ่งเป็นเสื้อตัวยาวเนื้อบาง จุดสำคัญคือต้องเอาสาบเสื้อซ้ายทับขวา สวมเสื้อที่เรียกว่า นากะจูบัง (Nakajuban) ควรจัดคอเสื้อให้ดี ให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1 นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สวมกิโมโนทับ จากนั้นผูกเชือกที่ชื่อว่า โคชิฮิโมะ (Koshihimo) เพื่อยึดให้ชุดอยู่กับที่ พันผ้าคาดเอวที่เรียกว่า โอบิ (Obi) ให้แน่น วิธีการผูกโอบิมีหลายแบบ แต่เนื่องจากวิธีผูกโอบิค่อนข้างซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีโบสำเร็จรูปให้เสียบกับโอบิเลย รองเท้าที่ใส่กับกิโมโนเรียกว่า เกตะ (Geta) หรือเกี๊ยะ ประเภทของกิโมโน ชิโรมุคุ (Shiromuku) คือกิโมโนสีขาวล้วน แขนเสื้อยาว...
Read More
สวนปราสาทชูริ ปราสาทชูริ (ญี่ปุ่น: 首里城; โรมาจิ: Shuri-jō; อังกฤษ: Shuri Castle) เป็นปราสาทแบบรีวกีว ตั้งอยู่ในเขตชูริ จังหวัดโอกินาวะ เคยเป็นพระราชวังในสมัยอาณาจักรรีวกีว เมื่อปี พ.ศ. 2488 ระหว่างยุทธการที่โอกินาวะ ปราสาทถูกทำลายเกือบทั้งหมด เหลือเพียงกำแพงไม่กี่ส่วนโผล่พ้นเหนือพื้นดินเพียง 20-30 เซนติเมตร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 ได้มีการก่อสร้างปราสาทขึ้นใหม่ให้มีลักษณะเดิมโดยอ้างอิงจากภาพถ่าย บันทึกทางประวัติศาสตร์ และความทรงจำของผู้อาศัยอยู่แถบนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเช้ามืดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เกิดเหตุเพลิงไหม้ตัวอาคารหลักและอาคารอีกจำนวนหนึ่งเสียหายอย่างหนัก ประวัติ ช่วงเวลาที่เริ่มสร้างปราสาทนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าได้ถูกใช้เป็นที่พำนักในยุคซันซัง ประมาณกันว่าน่าจะถูกสร้างในระหว่างยุคกูซูกุ เช่นเดียวกับปราสาทอื่น ๆ ในโอกินาวะ เมื่อกษัตริย์โช ฮาชิได้รวบรวมดินแดนทั้ง 3 แห่งของโอกินาวะและสถาปนาอาณาจักรรีวกีว ได้ทรงใช้ปราสาทชูริเป็นที่ประทับ และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เมืองชูริได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นจนได้รับการยกฐานะเป็นเมืองหลวง ต่อมาอีก 450 ปีหลังจากเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมืองชูริกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรรีวกีว และยังเป็นหัวใจหลักทางด้านการค้ากับต่างประเทศ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมของรีวกีว แผนผังตัวปราสาท : 1: Seiden; 2: Hokuden; 3: Nanden; 4: Houshinmon;...
Read More
เทมปุระ อาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ที่มาของเทมปุระ                                                                                 เท็มปูรายาไต (ซุ้มขายเท็มปูระ) ของยุคเอโดะ มิชชันนารีโปรตุเกสนำสูตรการทำเท็มปูระนำเข้ามายังญี่ปุ่นที่เมืองนางาซากิคณะเยซูอิต เมื่อ ค.ศ. 1549 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับที่อาหารญี่ปุ่นเช่น ปังโกะ หรือ ทงกัตสึ ได้รับการคิดค้นโดยชาวโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่กล่าวว่า โทกูงาวะ อิเอยาซุ โชกุนคนแรกแห่งเอโดะ โปรดปรานเท็มปูระเป็นอย่างมาก แต่เดิม ตั้งแต่ยุคเซ็งโงกุ เท็มปูระเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหมู่ผู้สัญจรริมถนนที่เรียกว่า “ยาไต”...
Read More
เทศกาลกิออนมัตสุริ Gion Matsuri เทศกาลกิออนมัตสุริ(Gion Matsuri) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่นเลยนะคะ ซึ่งเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยศาลเจ้ายาซากะ(Yasaka Shrine)อันแสนจะโด่งดังแห่งเมืองเกียวโต(Kyoto)ที่จะจัดเป็นประจำในช่วงวันที่ 1 – 31 กรกฎาคมของทุกปีนั่นเองค่ะ บอกได้คำเดียวว่าเป็นเทศกาลที่ทำให้บรรยากาศภายในเมืองคึกคักกันถึงขีดสุด เพราะมีกิจกรรมทั้งหลากหลายและเต็มไปด้วยสีสัน มีทั้งขบวนแห่เกี้ยว(Yamaboko Junko)ในวันที่ 17 ที่มีความงดงามตระการตามากเป็นพิเศษ ความสนุกสนานไปกับงานเฉลิมฉลองของขบวนโยอิยามะ(Yoiyama)ในตอนเย็น รวมทั้งวันที่ 24 กรกฎาคมยังจะมีขบวนแห่ครั้งที่สองซึ่งเล็กกว่าขบวนแรกแต่ความสวยนี่ก็กินกันไม่ลงเชียว ถ้าจะพูดถึงภาพรวมของกิจกรรมหลักของเทศกาลกิออนมัตสุรินั้นไฮไลท์ของการจัดกิจกรรมจะเกิดขึ้นในย่านกิออนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำคาโม(Kamo River) ในช่วง 3 วันของการแห่ขบวน จะเป็นการแห่ยมราชยามะ(yama) และโฮโกะ(hoko) ตั้งแต่ครึ่งกิโลเมตรของสี่แยกถนน Karasuma และถนน Shijo ในช่วงตั้งแต่เวลา 18:00-23:00 จะปิดการจารจรเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดซุ้มจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และจัดกิจกรรม ได้แก่ วันที่ 16 ก.ค. เรียกว่าโยอิยามะ(Yoiyama) วันที่ 15 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิยามะ(Yoiyoiyama) และวันที่ 14 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิโยอิยามะ จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม เป็นขบวนแห่เล็กๆโดยไม่ปิดถนน
Read More
ต้นกำเนิด     คำว่า ซาชิมิ หมายถึง “ร่างกายที่ถูกเจาะ” กล่าวคือ 刺身 = ซาชิมิ ซึ่ง 刺し = ซาชิ (เจาะ, ทิ่มแทง) และ 身 = มิ (ร่างกาย เนื้อสัตว์) คำนี้มีใช้ตั้งแต่ยุคมูโรมาจิ และเป็นไปได้ว่าได้รับการบัญญัติขึ้นเมื่อคำว่า 切る = คิรุ (ตัด) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำอาหารถูกมองว่าอัปมงคลเกินไปสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ซามูไร คำนี้อาจแผลงมาจากการฝึกแทงหางและครีบปลาให้เป็นแผ่นบาง ๆ ในการระบุชนิดของปลาที่กำลังกิน ชื่อนี้มีความเป็นไปได้อีกอย่างว่ามาจากการจับปลาด้วยวิธีดั้งเดิม โดยปลา “ระดับซาชิมิ” จะถูกจับโดยใช้เบ็ดมือ ทันทีที่ปลาถูกจับได้ สมองของมันจะถูกแทงด้วยของมีคม จากนั้นปลาจะถูกนำไปวางบนน้ำแข็ง การใช้ของมีคมนี้เรียกว่า อิเกจิเมะ (Ike jime) และการที่ปลาตายทันทีหมายความว่าเนื้อปลาประกอบด้วยกรดแล็กติกปริมาณเล็กน้อย แสดงว่าปลาจะยังสดหากวางบนน้ำแข็งเป็นเวลา 10 วัน โดยไม่เปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเสีย ชาวต่างชาติ (ที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น) หลายคนใช้คำว่าซาชิมิและซูชิในความหมายเดียวกัน แต่อาหารทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน ซูชิคืออาหารจานใด ๆ ที่ทำด้วยข้าวญี่ปุ่นผสมน้ำส้มสายชู และแม้ว่าปลาดิบหรือซาชิมิจะเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งของซูชิดั้งเดิม แต่ซูชิหลายชนิดก็โปะหน้าด้วยอาหารทะเลที่ปรุงสุกแล้ว และอีกหลายชนิดก็ไม่ได้โปะหน้าด้วยอาหารทะเลเลย
Read More
1 11 12 13 14