บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

Category

บทความทั่วไป

พิธีชงชา  พิธีชงชา หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าซะโด (Sadou) หรือ ฉะโด (Chadou) แปลว่าวิถีแห่งชา เป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่แฝงให้เห็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มีความเรียบง่าย ประณีต และพิถีพิถัน ชาที่นำมาใช้ชงนั้นเป็นชาบดจนเป็นผงละเอียดเรียกว่ามัทฉะ (Matcha) ขั้นตอนการชงคือตักมัทฉะใส่ถ้วย ตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป ใช้ไม้คนจนชาเป็นฟองก็เป็นอันเสร็จ จากนั้นก็ยกถ้วยชาเสิร์ฟให้กับแขก ซึ่งมักจะดื่มคู่กับขนมหวานชิ้นเล็กๆ เพื่อตัดความขมของชา     ประวัติความเป็นมา การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมจากประเทศจีนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น โดยพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญแล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น ในอดีตการดื่มชาเป็นที่นิยมกันในหมู่นักรบ ขุนนาง ตลอดจนพ่อค้าชาวเมืองที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่ต่อมาท่าน เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu) ได้ทำให้พิธีชงชากลายเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีแบบแผนอย่างในปัจจุบัน โดยตัดรูปแบบการเลี้ยงชาที่ฟุ่มเฟือยออกไป เน้นความเรียบง่าย จริงใจ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยจิตใจที่สงบและบริสุทธิ์ โดยมีหลักของศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) เข้ามาด้วย อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชา คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา ชะฉะคุ...
Read More
เอะมะเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เหตุใดถึงได้แปลว่าภาพม้าหรือภาพของม้า ? คำตอบก็คือ ในสมัยก่อนนั้นคนญี่ปุ่นที่จะมาขอพรจากเทพเจ้าที่ศาลเจ้าต่างๆนั้นจะนิยมนำม้าที่มีสีขาวเพื่อเอามาถวายให้เทพเจ้าที่สถิตอยู่ เพราะความเชื่อของคนที่นี่เชื่อกันว่าม้านั้นเป็นสัตว์ที่มีความพิเศษตรงที่ใช้เป็นสื่อระหว่างคนกับเทพเจ้าได้นั่นเอง(คงคล้ายๆกับสุนัขจิ้งจอก) แต่ว่าในภายหลังนั้นประเพณีหรือความเชื่อเรื่องที่ว่าจะต้องนำม้าสีขาวมาถวายก็ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นการถวายม้าที่ทำมาจากไม้หรือการวาดรูปม้าลงบนไม้แทน ท้ายที่สุดก็มาเป็นการเขียนคำอธิษฐานลงไปอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ คำว่า “เอะมะ” นั้นก็เป็นการผสมกันระหว่างกคำว่า “เอะ”( 絵) ที่แปลว่า รูปภาพ และ “มะ” (馬) ซึ่งก็แปลว่า ม้า ดังนั้น เมื่อเอาทั้ง 2 คำมารวมกันจึงแปลว่า “ภาพม้า” นั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าแต่จะมีแต่ม้าเท่านั้น เพราะในภายหลังก็มีการนำเอาภาพต่างๆ วาดลงบนแผ่นไม้ เช่น บทสวดมนต์ รูปนักษัตรราศีต่างๆ หรือแม้แต่รูปบุคคล หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเป็นตำนวนหรือเรื่องเล่าของศาลเจ้านั้นๆ ซึ่งเอะมะ นั้นก็ไม่ใช่แต่ว่าจะเป็นของเพื่อใช้เขียนคำอธิษฐานเท่านั้น คนที่ชอบสะสมของเก่าๆแล้ว เอะมะ ก็เป็นของที่มีมูลค่ามากเช่นกัน เพราะบางภาพก็ถูกวาดขึ้นโดยศิลปินที่มีชื่อเสียง บางภาพก็เป็นเรื่องเล่าเก่าแก่และก็ยังมีหลายขนาดอีกด้วย นักท่องเที่ยวที่มาใช้เอะมะเพื่อขอพรนั้นก็มีจุดประสงค์หลากหลายต่างกันไป เช่น บางคนก็ขอให้การงาน การเรียนประสบความสำเร็จ บางคนขอเรื่องความรักหรือบางคนก็ขอให้ตนเองและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งก็หาซื้อได้ตามศาลเจ้า ราคาส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 เยน ครับ ใครมาเที่ยวญี่ปุ่นก็ไม่ควรจะพลาดกับการใช้เอะมะกันนะ
Read More
โทริอิ Torii คืออะไร? เสาแดงหน้าศาลเจ้าญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ โทริอิ (Torii) ซุ้มประตูขนาดใหญ่ยักษ์ที่เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเหมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว เพราะเชื่อได้เลยว่าไม่มีที่อื่นแน่นอน และยังเป็นที่รู้กันด้วยว่าถ้าเห็นเสานี้เมื่อไหร่ แสดงว่าใกล้ๆ กันนี้จะต้องมีศาลเจ้าตั้งอยู่ แต่นอกจากจะเป็นการบอกตำแหน่งแล้ว เสาโทริอิยังมีความหมายมากกว่านั้นด้วยนะ จะมีอะไรบ้างตามไปดูกัน โทริอิ (ญี่ปุ่น: 鳥居; โรมาจิ: Torii, ความหมาย: ที่อยู่ของปักษา ซึ่งชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า นกถือเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกหลังความตาย) มีที่มาจากความเชื่อแบบชินโตที่ชาวญี่ปุ่นนับถือกันมาช้านานจวบจนถึงปัจจุบัน ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถสืบย้อนไปได้ว่าชาวญี่ปุ่นเริ่มตั้งเสาโทริอิกันตั้งแต่เมื่อไหร่ มีเพียงบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนถึงโทริอิ ถูกเขียนไว้เมื่อ ค.ศ. 922 กล่าวถึง โทริอิหินที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างในศตวรรษที่ 12 เป็นโทริอิของศาลเจ้าฮะชิมังในจังหวัดยะมะงะตะ นั่นเอง
Read More
จิราชิซูชิเป็นเมนูที่คนญี่ปุ่นนิยมทำกินกันในบ้านในวันพิเศษ เช่น เรียบจบ ได้งานทำ วันเกิด ปีใหม่ คริสต์มาส อะไรประมาณนี้ แต่สำหรับต๊ะ ซาดาโอะ และโคชิ แล้วกินได้ทั้งปีไม่เคยรอญาติมาเยี่ยม ไม่ง้อเทศกาล โอกาสพิเศษ ข้าวที่ใช้ทำจิราชิซูชิจะเป็นข้าวญี่ปุ่นหุงสุก แต่จะหุงให้แห้งกว่าปกติเหมือนกับข้าวที่ใช้ทำข้าวผัด เวลาหุงข้าวให้ใส่นํ้าน้อยกว่าหุงข้าวปกติ ส่วนท็อปปิ่งที่ฮิตๆ ก็จะมีไข่หวาน สาหร่ายเส้นเล็ก ๆ (Kizami Nori) ปลาดิบ อาหารทะเลสด และก็ไข่ปลาแซลมอนเพราะอร่อย และสีสันสดใส แวววาว
Read More
เทศกาลธงปลาคาร์ฟ (Koi-no-bori Festival)” หรือ เทศกาลเพื่อเฉลิมฉลอง “วันเด็ก (Children’s Day)” วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ชาวญี่ปุ่นจะขอพรให้บุตรของตนเจริญเติบโตแข็งแรง โดยในวันเด็กจะมีธรรมเนียมการประดับตกแต่งบ้านเรือน และรับประทานขนมคะชิวะโมจิ (Kashiwa-mochi) นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีการจัดงาน “เทศกาลธงปลาคาร์ฟ (Koi-no- bori Festival)” ทั่วทุกแห่งในญี่ปุ่นให้เราได้เพลิดเพลินกับสีสันอันสวยงามหลากหลายของธงปลาคาร์ฟกันอีกด้วย เป็นเทศกาลที่ไม่ควรพลาดชมเป็นอย่างยิ่ง โคยโนโบริ หรือ ธงรูปปลาคาร์ฟ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันเทศกาลเด็กผู้ชายในอดีต หรือวันเด็กในปัจจุบัน ซึ่งหากบ้านไหนมีลูกชายก็มีการประดับธงรูปปลาคาร์ฟไว้หน้าบ้าน โดยทั่วไปธงจะประกอบด้วยปลาพ่อ (สีดำ) ปลาแม่ (สีแดงหรือชมพูเข้ม) และปลาลูก (สีฟ้า) บางบ้านก็ประดับเพิ่มปลาสีส้ม เขียว และม่วง ที่มีขนาดลดหลั่นกันมาตามจำนวนและอายุของลูกๆ เหตุที่ประดับธงรูปปลาคาร์ฟเนื่องมาจากความเชื่อตามเรื่องเล่าของจีนว่าปลาคาร์ฟนั้นสามารถว่ายทวนกระแสน้ำในแม่น้ำฮวงโหได้จนกลายเป็นมังกร ชาวญี่ปุ่นซึ่งได้รับอิทธิพลความเชื่อจากจีนจึงอยากให้ลูกชายมีจิตใจที่เข้มแข็ง ต่อสู้กับความยากลำบากในชีวิตอย่างไม่ย่อท้อเหมือนดั่งปลาคาร์ฟ
Read More
1 12 13 14