บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

By

dplantour
โซเมงคืออะไร โซเมง (Somen) คือ เส้นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นเส้นกลม สีขาว เส้นเล็กบาง ทำมาจากแป้งสาลีเช่นเดียวกับอุด้ง นิยมทำเป็นเมนูแบบเย็นทานในฤดูร้อน ฮิยาชิโซเมง (Hiyashi somen) ฮิยาชิโซเมง คือ โซเมงแบบเย็น เสิร์ฟบนน้ำแข็ง เวลาทานจะจุ่มเส้นลงในซอสสึยุรสเข้มข้นเช่นเดียวกับซารุโซบะและซารุอุด้ง ทานโดยจุ่มเส้นลงในซุปเหมือนสึเคเมง ทานแบบเย็นๆ กันในหน้าร้อน นากาชิโซเมง (Nagashi somen) นวัตกรรมการทานโซเมงที่เส้นแบบอื่นไม่มี ในช่วงหน้าร้อน คนญี่ปุ่นจะนำไม้ไผ่สดมาผ่าครึ่ง ต่อเป็นรางยาวแล้วปล่อยน้ำให้ไหลมาตามราง เมื่อทุกคนมีอาวุธคือตะเกียบและถ้วยใส่สึยุกันพร้อมแล้ว เขาจะปล่อยเส้นโซเมงไหลลงมาพร้อมกับน้ำให้คีบกินระหว่างทาง หากคีบไม่ทัน เส้นจะไหลไปรวมกันที่ถาดปลายราง นับเป็นกิจกรรมสนุกๆ ในหน้าร้อน นิวเมง (Nyumen) นิวเมง คือ โซเมงแบบร้อน ซุปมักทำจากน้ำสต็อกไก่ มักทานในหน้าหนาว ตรงข้ามกับโซเมงปกติ
Read More
สีภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง สีภาษาญี่ปุ่น คืออีกหมวดคำศัพท์ที่ควรรู้ แต่ละสีมีชื่อเรียกแยกย่อยไปอีกหลายแบบ มารู้จักชื่อเรียกสีพื้นฐานไปจนถึงเฉดสีที่ต่างกัน สีเป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนาม แต่ละคำจะมีวิธีผันไม่เหมือนกัน โดยหลักในการผันหลักๆ คือเติม อิ โนะ หรือ นะ แล้วต่อด้วยคำนาม ดังนี้ สี : 色 คำว่าสี คือคำว่า อิโระ (Iro) จึงไม่แปลกที่หลายคำจะลงท้ายด้วยคำว่าอิโระ สีไหนที่ลงท้ายด้วยอิโระ มักผันเป็นคำคุณศัพท์ด้วยการเติมคำว่า โนะ (の) สีแดง : 赤 คำนาม : อากะ (Aka) คำคุณศัพท์ : อาไค่ (Akai)   สีแดง ที่ใช้กันทั่วไปคือคำว่า อากะ (ออกเสียงระหว่าง ก. กับ ค.) เมื่อผันเป็นคุณศัพท์ให้เติม อิ ออกเสียงเป็น อาไค่ สีน้ำเงิน : 青 คำนาม...
Read More
โอริกามิ คืออะไร โอริกามิ (Origami) คือ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะพับกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยคำว่าโอริ (折り) แปลว่าพับ ส่วนกามิ (紙) แปลว่ากระดาษ กระดาษที่ใช้พับโอริกามิจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและค่อนข้างบาง มี 2 แบบ ได้แก่ โอริกามิ หรือกระดาษสีไม่มีลาย และ จิโยกามิ (Chiyogami) หรือกระดาษสีที่มีลวดลาย ซึ่งมักเป็นลายญี่ปุ่น วิธีพับโอริกามิมีหลายรูปแบบ เช่นการพับกระดาษทั้งแผ่นให้เป็นรูปร่าง พับทีละส่วนแล้วนำมาประกอบกัน ไปจนถึงการพับพร้อมตัดกระดาษให้ออกมาเป็นลายต่างๆ ประวัติของโอริกามิ กล่าวกันว่าญี่ปุ่นเริ่มผลิตกระดาษปริมาณมากในสมัยเฮอัน ส่วนวัฒนธรรมการพับโอริกามิเริ่มในสมัยเอโดะ จนในยุคเมจิที่ผลิตกระดาษแบบตะวันตกได้อย่างแพร่หลายแล้ว โอริกามิจึงเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นกกระเรียนกระดาษ ญี่ปุ่นมีศิลปะการพับกระดาษมากมาย แต่ที่คลาสสิกที่สุดคงหนีไม่พ้นนกกระเรียนที่เรียกว่า โอริสึรุ (Oritsuru) โดยนกกระเรียนถือเป็นสัญลักษณ์ของอายุยืนยาวและความมงคล หากพับครบพันตัวจะเรียกว่า เซ็นบะสึรุ (Senbatsuru) ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว ตำนานนกกระเรียนพันตัวมีที่มาจากเด็กหญิงคนหนึ่งที่ชื่อซาซากิ ซาดาโกะ เธอป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารกัมมันตรังสีจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ซาดาโกะเริ่มพับนกกระเรียนตามตำนานที่บอกว่าคำอธิษฐานจะเป็นจริงหากพับครบพันตัว เธอพับนกกระเรียนไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่าตนจะหายเป็นปกติ แต่สุดท้ายเธอก็จากไปอย่างสงบ นกกระเรียนพันตัวจึงแฝงความหมายของการขอให้หายป่วยและยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพด้วยเช่นกัน
Read More
นินจา คืออะไร นินจา (Ninja) คือ หนึ่งในนักรบญี่ปุ่นโบราณ เป็นเลิศในการแฝงตัว สอดแนม ลอบสังหาร และหลบหนี เชี่ยวชาญการใช้อาวุธหลายประเภท ประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ยุคเซนโกคุ ในปัจจุบัน นินจาเป็นหนึ่งในภาพแทนของญี่ปุ่น ตามสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มักมีคนใส่ชุดนินจาให้ถ่ายรูป รวมถึงยังสามารถลองแต่งชุดนินจาและใช้อาวุธนินจาได้ ในอดีต นินจามีหลายชื่อเรียกขึ้นอยู่กับยุคสมัยและพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือ ชิโนบิ (忍び) ซึ่งเขียนด้วยคันจิเดียวกับนินจา (忍者) โดยตัวอักษรชิโนบิมีความหมายว่าหลบซ่อน หรือจะแปลว่าอดทนก็ได้เช่นกัน ส่วนนินจาหญิงจะเรียกว่า คุโนะอิจิ (Kunoichi) นินจาอิงะและโคงะ นินจาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดได้แก่ นินจาอิงะ แห่งจัดหวัดมิเอะ และ นินจาโคงะ แห่งจังหวัดชิกะ แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนินจาอีกหลายสำนัก นินจามีอยู่จริงไหม คนทั่วโลกรู้จักนินจาของญี่ปุ่นดี มีปรากฏในภาพยนตร์ การ์ตูน และหนังสือของญี่ปุ่นมามากมาย รวมถึงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับนินจาอยู่หลายแห่ง จึงมีหลักฐานปรากฏไม่มากก็น้อยว่านินจามีตัวตนจริง อย่างไรก็ตาม งานของนินจาคือการเคลื่อนไหวในเงามืด รายละเอียดหลายอย่างจึงถูกเก็บเป็นความลับ ทำให้นินจาในหนังที่เรารู้จักกับนินจาในประวัติศาสตร์อาจไม่เหมือนกันเท่าไหร่่นัก ประวัติของนินจา หลักฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ของนินจาปรากฏหลังยุคนัมโบคุ (1336-1392) และได้กลายเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงยุคเซ็นโกคุ ซึ่งอำนาจการปกครองส่วนกลางเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ กล่าวกันว่าไดเมียวหลายคนใช้นินจาเพื่อให้ตัวเองเหนือกว่าคู่ต่อสู้ เช่น...
Read More
นาเบะคืออะไร นาเบะ (Nabe) หรือ หม้อไฟ คืออาหารที่ใส่ผัก เห็ด เนื้อสัตว์ เต้าหู้และเส้นต่างๆ ลงไปต้มในหม้อและทานในหม้อนั้นโดยไม่เปลี่ยนภาชนะ อาจยกลงจากไฟหรือตั้งบนเตาแก๊สขณะรับประทานก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า นาเบะ (鍋) ที่แปลว่าหม้อ ด้วยความที่นาเบะจะทานร้อนๆ จากหม้อ จึงนิยมทานในครอบครัวหรือหมู่เพื่อนในช่วงฤดูหนาว ทั้งในครัวเรือนและตามร้าน โยเซนาเบะ (Yosenabe) โยเซนาเบะ (Yosenabe) หรือหม้อไฟรวมมิตร คือนาเบะที่ใส่เครื่องหลายอย่าง ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก เต้าหู้ ลูกชิ้น และอื่นๆ ที่อยากใส่ เป็นอาหารที่ทำง่าย นิยมทานกันเป็นครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนฝูง คำว่า โยเซ (寄せ) แปลว่ารวบรวม โยเซนาเบะจึงทำโดยการใส่ทุกอย่างลงไปต้มในหม้อให้หมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ไก่ วัว ปลา อาหารทะเล สารพัดผัก เห็ด หรือของดีประจำท้องถิ่นนั้นๆ มทสึนาเบะ (Motsunabe) มทสึนาเบะ (Motsunabe) คือหม้อไฟเครื่องในหมูหรือวัว มักใส่กะหล่ำปลี กุยช่าย...
Read More
ทานาบาตะ คืออะไร วันทานาบาตะ (Tanabata) ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคมของทุกปี หรือจำง่ายๆ ว่าวันที่ 7 เดือน 7 เป็นเทศกาลแห่งการขอพรที่มีที่มาจากตำนาน ดังนี้ ตำนานทานาบาตะ ญี่ปุ่นรับตำนานนี้มาจากจีน โดยเป็นตำนานความรักของเจ้าหญิงทอผ้าโอริฮิเมะ และชายเลี้ยงวัวฮิโกโบชิ ทั้งสองตกหลุมรักกันและเริ่มละทิ้งหน้าที่ของตน เมื่อบิดาของโอริฮิเมะที่เป็นผู้ปกครองสวรรค์รู้เข้าก็โกรธมาก จึงแยกทั้งคู่ออกจากกันโดยมีแม่น้ำสวรรค์หรือทางช้างเผือกคั่นกลาง เจ้าหญิงโอริฮิเมะโศกเศร้าเสียใจมาก บิดาจึงเห็นใจจึงอนุญาตให้ทั้งสองมาพบกันได้ปีละ 1 ครั้งในวันที่ 7 เดือน 7 นี้เอง โดยในวันนั้น นกคาซาซากิจะมาเป็นสะพานให้ทั้งสองได้ข้ามทางช้างเผือกมาพบกัน ทั้งคู่จึงกลับมาตั้งใจทำงานและเฝ้ารอให้ถึงวันทานาบาตะที่จะได้พบกันปีละครั้ง สามเหลี่ยมฤดูร้อน ตำนานนี้อ้างอิงจากดวงดาวบนฟ้า ในช่วงฤดูร้อน เราจะเห็นดาวโอริฮิเมะหรือดาวเวก้า (Vega) และดาวฮิโคโบชิ หรือดาวอัลแตร์ (Altair) ส่องแสงสว่างไสว เมื่อรวมกับดาวเดเนบ (Deneb) อีกดวง ดาว 3 ดวงนี้จะเป็น “สามเหลี่ยมฤดูร้อน” ที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้ เทศกาลทานาบาตะทำอะไรบ้าง ในช่วงเทศกาล สถานที่หลายแห่งในญี่ปุ่นจะมีการประดับประดาอย่างเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ต้นไผ่แขวนกระดาษขอพร โคมพู่กระดาษ...
Read More
สาเก (Nihonshu) คืออะไร คำว่า สาเก ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงเหล้าทั่วไปทุกชนิด ส่วนสาเกญี่ปุ่นที่ไทยเข้าใจนั้น ญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิฮงชู (Nihonshu) ซึ่งแปลว่าเหล้าญี่ปุ่น สาเกญี่ปุ่น ทำจากข้าว โคจิ (ยีสต์) และน้ำ ข้าวที่นำมาใช้หมักทำสาเกมีหลายชนิด น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำจากธรรมชาติที่มีคุณภาพดี สาเกมีแอลกอฮอล์ประมาณ 10-20% ในการทำเหล้าสาเกให้ออกมามีคุณภาพที่ดี ข้าวจะต้องถูกนำมาสีจนเหลือ 70% หลังนึ่งแล้วจะเติมราโคจิลงไปเพื่อหมักข้าว จากนั้นก็ใส่น้ำและยีสต์ลงไปแล้วหมักต่อเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือน เมื่อกระบวนการหมักเสร็จสิ้นแล้ว จะนำส่วนผสมมากรองเพื่อสกัดออกมาเป็นเหล้าสาเก จากนั้นจึงนำไปบ่มต่อเป็นระยะเวลาราว 1 ปี สาเกญี่ปุ่นสามารถนำไปแช่เย็นดื่มแบบเย็นชื่นใจในวันอากาศร้อน หรืออาจนำไปอุ่นแล้วดื่มร้อนๆ ในฤดูหนาว หรือจะดื่มในอุณหภูมิห้องก็ได้เช่นกัน ประเภทของสาเก ชนิดของสาเกสามารถแบ่งประเภทโดยส่วนผสมและวิธีการผลิต ดังนี้ แบ่งตามส่วนผสม เมื่อแบ่งโดยส่วนประกอบ สาเก สามารถแบ่งได้เป็นสาเกแบบผสมแอลกอฮอล์ และไม่ผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ Junmai ไม่กำหนดปริมาณเนื้อข้าวที่ต้องสี ทำจากข้าว น้ำ และเชื้อโคจิเท่านั้น ไม่ผสมแอลกอฮอล์หรือน้ำตาล Ginjo...
Read More
ฮานามิ คืออะไร เทศกาลฮานามิ (Hanami) คือ เทศกาลชมซากุระ ในฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับช่วงเมษายนของทุกปี ชาวญี่ปุ่นจะไปปูเสื่อปิกนิกหรือเดินชมดอกซากุระที่บานสะพรั่งตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เที่ยวอย่างสวนสาธารณะ ปราสาท ไปจนถึงสถานที่ใกล้บ้าน คำว่า ฮานะ (花) แปลว่าดอกไม้ ส่วน มิ (見) แปลว่าดู ฮานามิ จึงแปลตรงตัวว่า เทศกาลชมดอกไม้ แต่โดยทั่วไปแล้ว ฮานามิจะหมายถึงเทศกาลชมซากุระโดยเฉพาะ ซากุระคือสัญลักษณ์ว่าฤดูใบไม้ผลิได้มาถึงแล้ว โดยจะบานเพียงประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็ร่วงโรยไป ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศจึงแห่ไปชมฮานามิกันอย่างคึกคักในช่วงนี้ บริเวณจุดชมซากุระชื่อดังมักมีร้านแผงลอยขายอาหารและขนมอย่างครึกครื้น ช่วงที่ซากุระบานเต็มที่นั้นตรงกับช่วงหยุดสงกรานต์พอดิบพอดี ชาวไทยจำนวนมากจึงนิยมเดินทางไปชม เทศกาลฮานามิ ที่ญี่ปุ่น ทำให้เป็นหนึ่งในช่วงไฮซีซั่นของการเที่ยวญี่ปุ่นเลยทีเดียว ประวัติความเป็นมาของฮานามิ ในช่วงเริ่มแรก ฮานามิคือธรรมเนียมของชนชั้นสูงที่รับเอาการชมดอกบ๊วยมาจากจีนในสมัยนารา ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยเฮอันจึงเปลี่ยนเป็นดอกซากุระ จากที่เคยเป็นธรรมเนียมของชนชั้นสูงก็เริ่มกระจายมาสู่ชนชั้นอื่นๆ และกลายเป็นที่นิยมในหมู่ชาวบ้านทั่วไปในที่สุด ช่วงเวลาและสภาพอากาศ ซากุระจะบานเต็มที่ในช่วงกลางฤดูใบไม้ผลิหรือช่วงเดือนเมษายน แต่อย่างไรก็ตาม อากาศและฤดูกาลทั่วญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไม่พร้อมกันเสียทีเดียว ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมซากุระของแต่ละภูมิภาคจึงไล่เลี่ยกันไป โดยจะไล่จากล่างขึ้นบน ตั้งแต่โอกินาว่าที่บานตั้งแต่มกราคม ไล่มาคิวชูประมาณปลายมีนาคม ไปจบที่ฮอกไกโดในช่วงปลายเมษายน-ต้นพฤษภาคม อากาศช่วงเทศกาลฮานามิอยู่ที่ประมาณ 14-25 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและพื้นที่ ชาวญี่ปุ่นนิยมใส่ชุดไม่หนามาก แต่มีเสื้อคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง...
Read More
โมโมทาโร่ คืออะไร โมโมทาโร่ (Momotaro) คือ นิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กชายผู้เกิดจากผลท้อที่ภายหลังออกเดินทางไปปราบยักษ์ได้สำเร็จ นิทานโมโมทาโร่ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคุณตาคุณยายอาศัยอยู่ด้วยกัน 2 คน ทุกๆ วันคุณตาจะเข้าไปตัดไม้บนภูเขา ส่วนคุณยายจะไปซักผ้าที่แม่น้ำ วันหนึ่ง คุณยายไปซักผ้าตามปกติและพบลูกท้อผลใหญ่ลอยแม่น้ำมา คุณยายจึงนำลูกท้อกลับบ้านไปฝากคุณตา เมื่อทั้งสองผ่าลูกท้อหมายจะกินก็พบกับทารกคนหนึ่งอยู่ด้านใน คุณตาคุณยายดีใจมาก คิดว่าเทพเจ้าส่งเด็กชายมาให้ ทั้งสองตั้งชื่อเด็กชายคนนั้นว่า “โมโมทาโร่” โดยโมโมะแปลว่าลูกท้อ และทาโร่คือชื่อที่นิยมตั้งให้เด็กผู้ชาย คุณตากับคุณยายเลี้ยงดูโมโมทาโร่อย่างเอาใจใส่จนเติบโตเป็นเด็กชายที่แข็งแรงและมีพละกำลังมาก ขณะเดียวกันก็มีจิตใจดีและกตัญญู อยู่มาวันหนึ่ง โมโมทาโร่ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับยักษ์นิสัยไม่ดีบนเกาะโอนิกาชิมะที่เที่ยวมาแย่งชิงสมบัติของชาวบ้าน โมโมทาโร่จึงขอคุณตากับคุณยายไปปราบยักษ์ คุณยายจึงทำคิบิดังโงะเป็นเสบียงพกไประหว่างเดินทาง ระหว่างทาง โมโมทาโร่ได้พบกับสุนัข ลิง และไก่ฟ้า โมโมทาโร่บอกว่านี่คือคิบิดังโงะที่อร่อยที่สุดในญี่ปุ่นและให้คิบิดังโงะกับสัตว์ทุกตัว ทั้งสามจึงติดตามโมโมทาโร่ไปเกาะยักษ์ด้วย เมื่อมาถึงเกาะยักษ์ โมโมทาโร่และผองเพื่อเข้าต่อสู้กับยักษ์ ยักษ์สู้พละกำลังของโมโมทาโร่ไม่ได้จึงยอมแพ้และมอบสมบัติที่ชิงมาให้เพื่อขอชีวิต โมโมทาโร่จึงนำสมบัติกลับบ้านได้โดยสวัสดิภาพ โมโมทาโร่กับจังหวัดโอคายาม่า ว่ากันว่าบ้านเกิดของโมโมทาโร่คือจังหวัดโอคายาม่า ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกท้อหรือพีชมาตั้งแต่สมัยก่อน กล่าวกันว่าชื่อคิบิดังโงะที่โมโมทาโร่ให้กับสัตว์ทั้งสามก็มาจากชื่อเมืองคิบิในโอคายาม่านี้เอง คิบิดังโงะจึงเป็นของฝากยอดนิยมประจำเมือง   เนื่องจากเป็นบ้านเกิดของนิทานพื้นบ้านชื่อดัง จึงสามารถพบเห็นโมโมทาโร่ได้ทั่วโอคายาม่า ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นโมโมทาโร่และผองเพื่อนหน้า Okayama Station พิพิธภัณฑ์โมโมทาโร่ (Momotaro Karakuri...
Read More
โอโคโนมิยากิคืออะไร โอโคโนมิยากิ (Okonomiyaki) หรือที่เราชอบเรียกกันว่า พิซซ่าญี่ปุ่น ทำจากแป้งสาลีผสมน้ำ คลุกกับกะหล่ำปลีหั่นฝอยและเนื้อสัตว์ ย่างบนแผ่นกระทะเหล็กเป็นแผ่นกลม มักทาซอส บีบมายองเนส และโรยด้วยผงสาหร่ายกับปลาแห้ง เป็นของขึ้นชื่อในแถบคันไซ คำว่า โอโคโนมิยากิ มาจากคำว่า โอโคโนมิ (お好み) ที่แปลว่าตามใจชอบ และ ยากิ (焼き) ที่แปลว่าย่างหรือปิ้ง โอโคโนมิยากิจึงหมายถึงอาหารที่ใส่ส่วนผสมตามใจชอบและนำมาย่าง เครื่องโอโคโนมิยากิมีให้เลือกหลากหลาย เช่น หมู ไก่ ปลาหมึก เบคอน ชีส โมจิ กิมจิ เป็นต้น ฮิโรชิมะยากิ (Hiroshimayaki) โอโคโนมิยากิมี 2 ประเภท ได้แก่ โอโคโนมิยากิแบบคันไซ และโอโคโนมิยากิแบบฮิโรชิม่า หรือที่เรียกว่า ฮิโรชิมะยากิ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การใส่เส้นลงไปด้วย ฮิโรชิมะยากิจะใส่แป้งลงไปก่อน ตามด้วยกะหล่ำปลีที่ซอยเป็นเส้นยาว ถั่วงอก หมูสามชั้น เส้นยากิโซบะ ปิดท้ายด้วยไข่ เรียงซ้อนเป็นชั้นโดยไม่ผสมเหมือนแบบธรรมดา มักทาซอสรสหวาน ขณะที่แบบธรรมดาจะใช้ซอสออกรสเผ็ด และไม่ใส่มายองเนส ถึงอย่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านและความชอบส่วนบุคคล...
Read More
1 13 14 15 16 17 19