บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

Day

October 26, 2023
ชาอู่หลง (Oolong tea) คืออะไร ชาอู่หลง คือ ชาเขียวประเภทกึ่งหมัก ทำให้มีสี กลิ่นและรสชาติอยู่ระหว่างชาเขียวและชาดำ น้ำชาอู่หลงเป็นสีทองออกแดง มีกลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีต้นกำเนิดมาจากจีน ซึ่งคำว่าอู่หลงก็เป็นภาษาจีน แปลว่ามังกรดำ ในภาษาญี่ปุ่นอาจเขียนด้วยตัวคันจิ (烏龍茶) หรือฮิรากานะ (ウーロン茶) ก็ได้ ชาอู่หลงผ่านกระบวนการผลิตที่แตกต่างจากชาเขียว คือนำชาใบสดไปหมัก แล้วเพิ่มขั้นตอนผึ่งแดดเข้าไประหว่างกระบวนการเพื่อหยุดการหมักนั้นเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม และทำให้มีสีเข้มขึ้น แต่ไม่เข้มเท่าชาฝรั่งหรือชาดำ ซึ่งระดับของกระบวนการหมักจะทำให้ได้สี กลิ่นและรสชาติต่างกันออกไป แม้ชาอู่หลงจะเป็นชาจีน แต่ก็ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นไม่น้อย นับเป็นหนึ่งในชาที่คนญี่ปุ่นดื่มกันในชีวิตประจำวันทั้งแบบร้อนและแบบเย็น รวมถึงยังนิยมใช้ชงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอิซากายะอีกด้วย ประโยชน์ของชาอู่หลง กระบวนการกึ่งหมักทำให้เกิดสาร Oolong Tea polymerized-polyphenols หรือ OTPPs ซึ่งต่างจากชาอื่นๆ ที่มีเฉพาะคาเฟอีน และสารในกลุ่มคาเทชิน (Catechin) ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมไขมันในเลือด ชะลอวัย ลดความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Read More
เกอิชา คืออะไร เกอิชา (Geisha) คือ หญิงที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ สร้างความบันเทิงให้กับแขกด้วยการร่ายรำ ขับร้อง เล่นดนตรี ไปจนถึงการปรนนิบัติบริการอย่างรินเหล้า เป็นต้น เอกลักษณ์ของเกอิชาคือการทาหน้าขาว ใส่ชุดกิโมโนหรูหราและทำผมอลังการ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเกอิชาคืออาชีพขายบริการ แต่อันที่จริงแล้วเกอิชาไม่ใช่อาชีพอย่างว่า คำว่าเกอิชา (芸者) แปลตรงว่า “ศิลปิน” เกอิชาจึงถือเป็นศิลปินที่แสดงศิลปะชั้นสูงของญี่ปุ่นดั้งเดิม เกอิชาคือคำเรียกในฝั่งคันโต ส่วนฝั่งคันไซจะเรียกว่า เกอิโกะ (Geiko) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกว่าเกอิงิ ทั้งหมดนี้ล้วนหมายถึงอาชีพเดียวกัน ในปัจจุบันยังมีหลายที่ที่มีเกอิชาตัวเป็นๆ ให้ได้ไปพบปะกันจริงๆ ประวัติของเกอิชา เกอิชามีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนไปถึงสมัยเอโดะ แรกเริ่มแล้วเกอิชาเป็นผู้ชาย มีหน้าที่ร้องเล่นเต้นรำสร้างความบันเทิง ต่อมาจึงกลายเป็นผู้หญิงอย่างทุกวันนี้ ในอดีต ผู้ที่มาเป็นเกอิชามีทั้งที่เป็นโดยสมัครใจและถูกซื้อตัวมา แต่ในปัจจุบัน คนที่มาเป็นเกอิชาคือผู้ที่สนใจและสมัครใจเป็นเอง หน้าที่ของเกอิชา เกอิชามีหน้าที่สร้างสีสันในงานเลี้ยง โดยในส่วนของการแสดงนั้นจะแบ่งออกเป็นหน้าที่หลักๆ ดังนี้ ทาจิคาตะ คือเกอิชาที่มีหน้าที่ร่ายรำ จิคาตะ คือนักดนตรี มีหน้าที่ขับร้องและเล่นเครื่องดนตรี เช่น ชามิเซ็น ขลุ่ย กลอง ไทโกะโมจิ คือเกอิชาที่มีหน้าที่สร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นด้วยการเล่นตลกหรือการใช้คำพูดต่างๆ   เกอิชายังมีความสามารถด้านศิลปะอื่นๆ เช่น...
Read More
ทาทามิ คืออะไร เสื่อทาทามิ (Tatami) คือ เสื่อญี่ปุ่นโบราณที่ทอจากพืช ห้องแบบญี่ปุ่นหรือวะชิตสึ (和室) มีเอกลักษณ์อยู่ที่การปูเสื่อทาทามินี่เอง ทาทามิ จึงพบเห็นได้ทั่วไปในบ้านโบราณ ห้องพักแบบญี่ปุ่นในเรียวกัง สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ไปจนถึงบ้านเรือนทั่วไป ชื่อ ทาทามิ มาจากคำว่า ทาทามุ (畳む) ที่แปลว่าซ้อนหรือทับ คาดว่าในช่วงแรกทาทามิใช้ปูซ้อนกันเป็นชั้นๆ หรืออาจมาจากตอนเก็บที่ต้องพับซ้อนกัน เสื่อทาทามิช่วยปรับอุณหภูมิและความชื้นในห้อง มีความนุ่มสบายเท้า เก็บเสียงได้ดี มีกลิ่นหอมของหญ้านิดๆ เหมาะกับสภาพอากาศของญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ ทาทามิจึงยังคงหลงเหลืออยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติของเสื่อทาทามิ ว่ากันว่าเสื่อทาทามิถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น ไม่ได้รับมาจากจีน โดยคาดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยนารา ต่อมาในสมัยเฮอัน เสื่อทาทามิกลายเป็นเครื่องแสดงฐานะและความร่ำรวยของชนชั้นสูง จนเมื่อเข้าสู่สมัยเอโดะ เสื่อทาทามิจึงแพร่กระจายไปในหมู่สามัญชนและใช้ปูพื้นบ้านทั่วไปอย่างทุกวันนี้ เสื่อทาทามิทำจากอะไร ทาทามิแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนทำมาจากวัสดุต่างกันไป ได้แก่ ทาทามิโอโมเตะ ทาทามิโอโมเตะ คือผิวส่วนหน้าของเสื่อ ทำจากหญ้าที่ชื่อว่า อิกุสะ ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาความชื้นและอุณหภูมิ นอกจากนี้ กลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของเสื่อทาทามิก็มาจากอิกุสะนี่เอง ทาทามิโดโกะ ทาทามิโดโกะ คือเนื้อเสื่อที่อยู่ใต้ทาทามิโอโมเตะ ทำจากฟางอัด...
Read More
สึคุเนะคืออะไร สึคุเนะ (Tsukune) คือลูกชิ้นชนิดหนึ่ง ทำโดยนำเนื้อสัตว์มาสับหรือบดละเอียด ผสมไข่ ปรุงรส ปั้นเป็นก้อนกลม แล้วนำไปทอดหรือย่าง ระหว่างย่างมักทาซอสด้วย สึคุเนะ มาจากกริยาที่แปลว่านวดหรือปั้น (捏ねる) จึงมีลักษณะเป็นก้อนกลมหรือรี ตามร้านยากิโทริมักเสียบไม้เพราะปรุงให้สุกโดยการย่าง สึคุเนะคือหนึ่งในเมนูแกล้มเหล้ายอดนิยมตามร้านยากิโทริหรืออิซากายะ แต่ก็นิยมทำในครัวเรือนด้วยเช่นกัน
Read More