บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

Day

October 25, 2023
เอนกาวะคืออะไร เอนกาวะ (Engawa) คือครีบส่วนบนที่ใช้ในการว่ายน้ำของปลาตาเดียว เนื้อเป็นสีขาว ค่อนข้างมัน มีความกรุบเวลาเคี้ยว นิยมเผาไฟให้หอม ใช้เป็นหน้าซูชิ ปลาตาเดียวมี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาฮิราเมะ (ปลาตาเดียว) กับ ปลาคะเรย์ (ปลาลิ้นหมา) เอนกาวะที่ได้จากคะเรย์มากกว่าฮิราเมะจึงมีราคาถูกกว่า เอนกาวะในร้านซูชิหมุนทั่วไปจึงมักใช้คะเรย์ หากเป็นฮิราเมะจะมีราคาสูงกว่ามาก นอกจากนั้นเอนกาวะของคะเรย์ยังมีความมันมากกว่าอีกด้วย
Read More
ชาฝรั่ง คืออะไร ชาฝรั่ง หรือ โคฉะ (Kocha) ในภาษาญี่ปุ่น ต่างจากชาเขียวตรงที่ผ่านกระบวนการหมักจนกลายเป็นสีแดง ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับชาอู่หลง แต่หมักยาวนานกว่าจึงสีเข้มกว่าชาอู่หลงที่ออกสีส้ม การหมักชาในที่นี้ต่างจากการหมักโยเกิร์ตด้วยแบคทีเรีย แต่หมายถึงการหมักโดยทำให้ใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ชาฝรั่งเรียกว่าเป็น “ชาที่หมักโดยสมบูรณ์” ซึ่งกระบวนการนี้จะหยุดชะงักเมื่อถูกความร้อน ชาเขียวที่นำไปผ่านความร้อนแต่แรกจึงเป็น “ชาที่ไม่ผ่านการหมัก” ส่วนชาอู่หลงที่เพิ่มการใส่ความร้อนเข้าไปเพื่อหยุดการหมักถือเป็น “ชากึ่งหมัก” ชาฝรั่งอาจหมายถึงทั้งชาแดงและชาดำ โดยตัวคันจิคำว่าโคฉะ (紅茶) จะแปลว่าชาแดง แต่ด้วยความที่ญี่ปุ่นไม่มีสิ่งที่ชื่อว่า “ชาดำ” โคฉะจึงเหมารวมชาสีเข้มทั้งชาแดงและชาดำ แม้ชาฝรั่งจะเป็นชาที่นิยมในตะวันตก แต่ญี่ปุ่นก็มีชาฝรั่งขายตามร้านสะดวกซื้อ ตู้กดน้ำและซูเปอร์ทั่วไป รวมถึงยังพบในคาเฟ่อยู่บ่อยๆ ชานมตัวฮิตก็ทำมาจากชาฝรั่่งเช่นกัน ประโยชน์ของชาฝรั่ง ชาดำหรือชาแดงมีคาเฟอีนสูง ทำให้รู้สึกสดชื่น ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับชาเขียว นอกจากนี้ยังกลิ่นหอม หลายคนจึงชอบกลิ่นของชาฝรั่งมากกว่าชาเขียว
Read More
อินาริซูชิ (Inari sushi) คือ ซูชิห่อในเต้าหู้ ที่นำข้าวปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูมายัดลงในเต้าหู้หวานทอดที่มีลักษณะเป็นถุงสี่เหลี่ยม ชื่อ อินาริ มาจากเทพจิ้งจอกอินาริที่มีเชื่อกันว่าชอบเต้าหู้ทอดนี้ นอกจากนี้เทพอินาริยังเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธัญญาหารและข้าวอีกด้วย ข้าวด้านในอาจเป็นข้าวผสมน้ำส้มสายชูเปล่าๆ หรือคลุกเครื่องก็ได้ เปลือกเต้าหู้ของอินาริซูชิปรุงรสด้วยโชยุ จึงมีรสชาติในตัวอยู่แล้ว จึงไม่นิยมจิ้มโชยุซ้ำ มักทานเปล่าๆ อย่างนั้นเลย อินาริซูชิของฝั่งคันโตกับคันไซต่างกันเล็กน้อย ตรงที่ถุงเต้าหู้ของฝั่งคันโตจะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ส่วนฝั่งคันไซจะเป็นสามเหลี่ยม สามารถหาซื้ออินาริซูชิได้ตามร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
Read More
ซามูไร คือใคร ซามูไร (Samurai) คือ นักรบญี่ปุ่นโบราณ มีบทบาทในการคุ้มกันผู้มีอำนาจในสมัยก่อน ขึ้นชื่อเรื่องความจงรักภักดี เชี่ยวชาญการใช้อาวุธโดยเฉพาะดาบ ยึดหลักวิถีนักรบที่เรียกว่าบูชิโดที่ให้ความสำคัญกับเกียรติและศักดิ์ศรี ประวัติศาสตร์ซามูไร กล่าวกันว่าประวัติศาสตร์ซามูไรเริ่มต้นในสมัยเฮอัน คำว่า ซามูไร (侍) มาจากคำว่า ซาบุราอุ (侍う) ซึ่งแปลว่า รับใช้ แรกเริ่มซามูไรจึงเป็นอาชีพที่รับใช้ชนชั้นสูงที่มีอำนาจ ต่อมาเมื่อมินาโมโตะ โยริโตโมะขึ้นเป็นโชกุนคนแรกและตั้งรัฐบาลคามาคุระขึ้น ก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยซามูไร ทำให้ซามูไรมียศฐานะบรรดาศักดิ์สูงขึ้น มีบทบาทมากขึ้น รวมถึงมีการแบ่งชนชั้นในหมู่ซามูไร เมื่อเข้าสู่ยุคเซ็นโกคุซึ่งเป็นยุคสงคราม นิยามของซามูไรก็ได้เปลี่ยนไป ผู้ที่เข้ารบในสงครามจะถือว่าเป็นซามูไรทั้งหมด จนต่อมาบ้านเมืองเริ่มสงบสุขในยุคเอโดะ ซามูไรใช้เรียกตำแหน่งระดับค่อนไปทางล่างของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเอโดะล่มสลายไปพร้อมกับระบบศักดินาในยุคเมจิ ซามูไรก็สูญสิ้นไปเช่นกัน บูชิโด (Bushido) คืออะไร บูชิโด (武士道) แปลว่าแนวทางของนักรบ หมายถึงหลักการที่นักรบญี่ปุ่นรวมถึงซามูไรยึดปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับหลัก 7 ประการ ได้แก่ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ความเมตตา การเคารพผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ศักดิ์ศรี และความจงรักภักดี หลักการบูชิโดนี้นำมาซึ่งธรรมเนียม เซ็ปปุกุ (Seppuku)...
Read More
ดารุมะ คืออะไร ตุ๊กตาดารุมะ (Daruma) คือ ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่น ทรงกลมไม่มีแขนขา ทำจากไม้ ด้านในกลวง มักเป็นสีแดง อาจมีดวงตาข้างเดียวหรือไม่มีทั้งสองข้าง ทั้งนี้เพราะการเขียนดวงตาให้กับดารุมะนี้เองคือธรรมเนียมขอพรอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ดารุมะถือเป็นของนำโชค เพราะเป็นตุ๊กตาล้มลุกที่ไม่ว่าจะผลักกี่ครั้งก็ตั้งกลับขึ้นมาได้เสมอ จึงเป็นเครื่องหมายของความพยายามและความสำเร็จ ประวัติความเป็นมาของดารุมะ ที่มาของดามุระออกจะน่ากลัวสักหน่อย ว่ากันว่าต้นแบบของดารุมะมาจากพระชาวอินเดียที่ชื่อ ดารุมะไดชิ (達磨大師) ผู้นั่งสมาธิเป็นเวลาถึง 9 ปีจนแขนขาเปื่อยเน่าและผุสลายไป มีทฤษฎีว่าธรรมเนียมวาดตาให้ดารุมะเริ่มในสมัยเอโดะ ช่วงนั้นเกิดการระบาดของไข้ทรพิษขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายต่อดวงตา จึงมีการทำดารุมะไร้ตาขึ้นเพื่อวาดดวงตาลงไปเป็นการขอพรให้ช่วยคุ้มครองตนจากโรคนี้ ที่มักทาเป็นสีแดงก็เพราะเชื่อกันว่าสีแดงจะช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดี การวาดดวงตาขอพร วิธีขอพรคือให้วาดดวงตาข้างซ้ายของตุ๊กตาก่อน (จะอยู่ขวามือของเราเมื่อหันหน้าเข้าตุ๊กตา) แล้วจึงอธิษฐานสิ่งที่อยากให้เป็นจริง เมื่อสมหวังแล้วให้มาวาดดวงตาอีกข้างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องวาดข้างซ้ายก่อนเสมอ กรณีไม่สมหวัง จะวาดหรือไม่วาดดวงตาอีกข้างก็ได้ ไม่ว่าจะสมหวังหรือไม่ เมื่อผ่านไป 1 ปีก็ควรนำไปคืนที่วัดหรือศาลเจ้า เนื่องจากเชื่อกันว่าตุ๊กตาจะคอยรับสิ่งไม่ดีแทนเรา แม้ไม่สมหวัง บางคนอาจวาดดวงตาอีกข้างให้ตุ๊กตาเป็นการขอบคุณที่ช่วยปกป้องมาตลอด 1 ปี สีของดารุมะ นอกจากสีแดงแล้ว ตุ๊กตาดารุมะ ยังมีหลายสี โดยแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง ปัดเป่าภัยอันตราย สีดำ...
Read More
ซากุระโมจิ (Sakura mochi) คืออะไร ซากุระโมจิ คือ ขนมที่ทำจากแป้งโมจิสีชมพู ไส้ทำจากถั่วแดงกวน ห่อด้านนอกอีกชั้นด้วยใบซากุระแช่เกลือ รสหวานออกเค็มนิดๆ หอมกลิ่นใบซากุระ เป็นขนมประจำฤดูใบไม้ผลิ และนิยมทานในวันเด็กผู้หญิงอีกด้วย ซากุระโมจิแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โชเมจิ หรือแบบคันโต และ โดเมียวจิ หรือแบบคันไซ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ โชเมจิ (คันโต) ซากุระโมจิของคันโตจะเป็นแผ่นแป้งแบนเรียบ ทำจากแป้งสาลี เนื้อจึงจึงมีลักษณะคล้ายแป้งเครป ว่ากันว่ากำเนิดมาจากวัดโชเมจิจึงเรียกกันด้วยชื่อนี้ โดเมียวจิ (คันไซ) ซากุระโมจิของฝั่งคันไซทำจากการนำข้าวเหนียวไปนึ่งและทำให้แห้ง ก่อนจะนำไปบดแล้วนึ่งอีกครั้ง มีเอกลักษณ์ที่ข้าวยังเป็นเม็ดอยู่ ซึ่งแป้งโดเมียวจินี้เป็นวิธีการถนอมอาหารของวัดโดเมียวจิ ใบที่ห่อซากุระโมจิทานได้หรือไม่ แม้ในหมู่คนญี่ปุ่นเอง ประเด็นนี้ก็ยังเป็นที่สงสัยกัน คำตอบก็คือ จะเอาออกหรือกินไปพร้อมกับโมจิก็ได้ หากกินเปล่าๆ จะออกรสหวาน กินพร้อมกับใบจะมีรสเค็มด้วย
Read More
ฮาจิโกะ คือใคร ฮาจิโกะ (Hachiko) คือ สุนัขยอดกตัญญูผู้ไปรอรับเจ้าของที่สถานีชิบูย่าทุกวัน แม้เจ้าของจะจากไปแล้ว มันก็ยังคงเฝ้ารออยู่ที่เดิมเวลาเดิมเป็นเวลานานถึง 10 ปีเต็ม ความภักดีนี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นประทับใจและสร้างรูปปั้นฮาจิโกะที่หน้าสถานีชิบูย่า จนกลายมาเป็นจุดนัดพบสำคัญและเป็นจุดเช็คอินที่ต้องแวะไปเมื่อไปเยือนชิบูย่า แม้คนไทยจะเรียกติดปากกันว่าฮาจิโกะ แต่อันที่จริงแล้วสุนัขตัวนั้นชื่อว่าฮาจิ (Hachi) ส่วนคำว่าโกะหรือโค (公) นั้นแปลว่ารูปปั้น รู้จักกับฮาจิ ฮาจิคือสุนัขพันธุ์อากิตะ เพศผู้ เกิดในปี 1923 ยุคไทโช ในจังหวัดอากิตะ ต่อมาศาสตราจารย์อุเอโนะ ฮิเดซาบุโร่ก็ได้มารับไปเลี้ยงและพาไปอยู่ด้วยกันที่โตเกียว ศาสตราจารย์รักมันมากและตั้งชื่อให้ว่าฮาจิ ศาสตราจารย์อุเอโนะเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo Imperial University) ศาสตราจารย์จะเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีชิบูย่าเพื่อไปมหาวิทยาลัยโดยมีเจ้าฮาจิมาส่งที่ทางเข้าสถานี และเมื่อถึงตอนเย็นที่กลับมาก็จะพบกับฮาจิที่มารอรับอยู่หน้าสถานีทุกวัน ทว่าในวันที่ 21 พฤษภาคม 1925 ศาสตราจารย์เสียชีวิตอย่างกะทันหันที่มหาวิทยาลัยด้วยอาการเลือดออกในสมอง ในวันนั้นฮาจิก็ยังคงไปรออยู่ที่สถานีชิบูย่าเหมือนอย่างทุกวัน โดยที่ไม่รู้ว่าเจ้าของของมันจะไม่เดินออกจากสถานีมาหามันอีกแล้ว หลังจากนั้นฮาจิก็ยังไปรอศาสตราจารย์อยู่ที่เดิมเวลาเดิมทุกเช้าทุกเย็นจนเป็นภาพที่คุ้นตาของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา จนในปี 1932 เรื่องราวของฮาจิโกะก็ได้ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์และทำให้ฮาจิโกะเป็นที่รู้จักไปทั่วญี่ปุ่นในชื่อ “ฮาจิโกะผู้ซื่อสัตย์” รูปปั้นฮาจิโกะถูกสร้างขึ้นในปี 1934 ที่หน้าสถานีชิบูย่า บริเวณที่ฮาจินั่งรอเจ้าของของมันเสมอ ซึ่งฮาจิก็อยู่ในวันเปิดตัวรูปปั้นด้วย Cr: commons.wikimedia ฮาจิจากไปในปี 8...
Read More
โซเมงคืออะไร โซเมง (Somen) คือ เส้นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นเส้นกลม สีขาว เส้นเล็กบาง ทำมาจากแป้งสาลีเช่นเดียวกับอุด้ง นิยมทำเป็นเมนูแบบเย็นทานในฤดูร้อน ฮิยาชิโซเมง (Hiyashi somen) ฮิยาชิโซเมง คือ โซเมงแบบเย็น เสิร์ฟบนน้ำแข็ง เวลาทานจะจุ่มเส้นลงในซอสสึยุรสเข้มข้นเช่นเดียวกับซารุโซบะและซารุอุด้ง ทานโดยจุ่มเส้นลงในซุปเหมือนสึเคเมง ทานแบบเย็นๆ กันในหน้าร้อน นากาชิโซเมง (Nagashi somen) นวัตกรรมการทานโซเมงที่เส้นแบบอื่นไม่มี ในช่วงหน้าร้อน คนญี่ปุ่นจะนำไม้ไผ่สดมาผ่าครึ่ง ต่อเป็นรางยาวแล้วปล่อยน้ำให้ไหลมาตามราง เมื่อทุกคนมีอาวุธคือตะเกียบและถ้วยใส่สึยุกันพร้อมแล้ว เขาจะปล่อยเส้นโซเมงไหลลงมาพร้อมกับน้ำให้คีบกินระหว่างทาง หากคีบไม่ทัน เส้นจะไหลไปรวมกันที่ถาดปลายราง นับเป็นกิจกรรมสนุกๆ ในหน้าร้อน นิวเมง (Nyumen) นิวเมง คือ โซเมงแบบร้อน ซุปมักทำจากน้ำสต็อกไก่ มักทานในหน้าหนาว ตรงข้ามกับโซเมงปกติ
Read More
สีภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง สีภาษาญี่ปุ่น คืออีกหมวดคำศัพท์ที่ควรรู้ แต่ละสีมีชื่อเรียกแยกย่อยไปอีกหลายแบบ มารู้จักชื่อเรียกสีพื้นฐานไปจนถึงเฉดสีที่ต่างกัน สีเป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนาม แต่ละคำจะมีวิธีผันไม่เหมือนกัน โดยหลักในการผันหลักๆ คือเติม อิ โนะ หรือ นะ แล้วต่อด้วยคำนาม ดังนี้ สี : 色 คำว่าสี คือคำว่า อิโระ (Iro) จึงไม่แปลกที่หลายคำจะลงท้ายด้วยคำว่าอิโระ สีไหนที่ลงท้ายด้วยอิโระ มักผันเป็นคำคุณศัพท์ด้วยการเติมคำว่า โนะ (の) สีแดง : 赤 คำนาม : อากะ (Aka) คำคุณศัพท์ : อาไค่ (Akai)   สีแดง ที่ใช้กันทั่วไปคือคำว่า อากะ (ออกเสียงระหว่าง ก. กับ ค.) เมื่อผันเป็นคุณศัพท์ให้เติม อิ ออกเสียงเป็น อาไค่ สีน้ำเงิน : 青 คำนาม...
Read More
โอริกามิ คืออะไร โอริกามิ (Origami) คือ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะพับกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยคำว่าโอริ (折り) แปลว่าพับ ส่วนกามิ (紙) แปลว่ากระดาษ กระดาษที่ใช้พับโอริกามิจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและค่อนข้างบาง มี 2 แบบ ได้แก่ โอริกามิ หรือกระดาษสีไม่มีลาย และ จิโยกามิ (Chiyogami) หรือกระดาษสีที่มีลวดลาย ซึ่งมักเป็นลายญี่ปุ่น วิธีพับโอริกามิมีหลายรูปแบบ เช่นการพับกระดาษทั้งแผ่นให้เป็นรูปร่าง พับทีละส่วนแล้วนำมาประกอบกัน ไปจนถึงการพับพร้อมตัดกระดาษให้ออกมาเป็นลายต่างๆ ประวัติของโอริกามิ กล่าวกันว่าญี่ปุ่นเริ่มผลิตกระดาษปริมาณมากในสมัยเฮอัน ส่วนวัฒนธรรมการพับโอริกามิเริ่มในสมัยเอโดะ จนในยุคเมจิที่ผลิตกระดาษแบบตะวันตกได้อย่างแพร่หลายแล้ว โอริกามิจึงเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นกกระเรียนกระดาษ ญี่ปุ่นมีศิลปะการพับกระดาษมากมาย แต่ที่คลาสสิกที่สุดคงหนีไม่พ้นนกกระเรียนที่เรียกว่า โอริสึรุ (Oritsuru) โดยนกกระเรียนถือเป็นสัญลักษณ์ของอายุยืนยาวและความมงคล หากพับครบพันตัวจะเรียกว่า เซ็นบะสึรุ (Senbatsuru) ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว ตำนานนกกระเรียนพันตัวมีที่มาจากเด็กหญิงคนหนึ่งที่ชื่อซาซากิ ซาดาโกะ เธอป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารกัมมันตรังสีจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ซาดาโกะเริ่มพับนกกระเรียนตามตำนานที่บอกว่าคำอธิษฐานจะเป็นจริงหากพับครบพันตัว เธอพับนกกระเรียนไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่าตนจะหายเป็นปกติ แต่สุดท้ายเธอก็จากไปอย่างสงบ นกกระเรียนพันตัวจึงแฝงความหมายของการขอให้หายป่วยและยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพด้วยเช่นกัน
Read More