บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

Day

October 2, 2023
การเเต่งชุดกิโมโน (Kimono) กิโมโน (kimono) ถือเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ปัจจุบันนิยมใส่ในโอกาสพิเศษ เช่น งานเทศกาล พิธีต่างๆ เป็นต้น กิโมโนบางประเภทถือเป็นชุดพิธีการอย่างหนึ่ง คำว่ากิโมโน แปลตรงตัวคือ สิ่งที่ใช้สวมใส่ เพราะเป็นเครื่องแต่งกายที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนสวมใส่กันในชีวิตประจำวัน เมื่อเข้ายุคเมจิ เสื้อผ้าแบบตะวันตกเริ่มแพร่หลาย บทบาทของกิโมโนจึงถูกลดทอนเป็นชุดที่ใส่ในโอกาสพิเศษไป วิธีใส่กิโมโน ใส่ถุงเท้าที่เรียกว่า ทาบิ (Tabi) ซึ่งเป็นถุงเท้าทรงสองนิ้ว ซึ่งพอแต่งเต็มยศแล้วจะก้มลงสวมถุงเท้าลำบาก จึงแนะนำให้สวมถุงเท้าก่อนเป็นอย่างแรก สวมเสื้อตัวในซึ่งเป็นเสื้อตัวยาวเนื้อบาง จุดสำคัญคือต้องเอาสาบเสื้อซ้ายทับขวา สวมเสื้อที่เรียกว่า นากะจูบัง (Nakajuban) ควรจัดคอเสื้อให้ดี ให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1 นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สวมกิโมโนทับ จากนั้นผูกเชือกที่ชื่อว่า โคชิฮิโมะ (Koshihimo) เพื่อยึดให้ชุดอยู่กับที่ พันผ้าคาดเอวที่เรียกว่า โอบิ (Obi) ให้แน่น วิธีการผูกโอบิมีหลายแบบ แต่เนื่องจากวิธีผูกโอบิค่อนข้างซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีโบสำเร็จรูปให้เสียบกับโอบิเลย รองเท้าที่ใส่กับกิโมโนเรียกว่า เกตะ (Geta) หรือเกี๊ยะ ประเภทของกิโมโน ชิโรมุคุ (Shiromuku) คือกิโมโนสีขาวล้วน แขนเสื้อยาว...
Read More
สวนปราสาทชูริ ปราสาทชูริ (ญี่ปุ่น: 首里城; โรมาจิ: Shuri-jō; อังกฤษ: Shuri Castle) เป็นปราสาทแบบรีวกีว ตั้งอยู่ในเขตชูริ จังหวัดโอกินาวะ เคยเป็นพระราชวังในสมัยอาณาจักรรีวกีว เมื่อปี พ.ศ. 2488 ระหว่างยุทธการที่โอกินาวะ ปราสาทถูกทำลายเกือบทั้งหมด เหลือเพียงกำแพงไม่กี่ส่วนโผล่พ้นเหนือพื้นดินเพียง 20-30 เซนติเมตร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 ได้มีการก่อสร้างปราสาทขึ้นใหม่ให้มีลักษณะเดิมโดยอ้างอิงจากภาพถ่าย บันทึกทางประวัติศาสตร์ และความทรงจำของผู้อาศัยอยู่แถบนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเช้ามืดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เกิดเหตุเพลิงไหม้ตัวอาคารหลักและอาคารอีกจำนวนหนึ่งเสียหายอย่างหนัก ประวัติ ช่วงเวลาที่เริ่มสร้างปราสาทนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าได้ถูกใช้เป็นที่พำนักในยุคซันซัง ประมาณกันว่าน่าจะถูกสร้างในระหว่างยุคกูซูกุ เช่นเดียวกับปราสาทอื่น ๆ ในโอกินาวะ เมื่อกษัตริย์โช ฮาชิได้รวบรวมดินแดนทั้ง 3 แห่งของโอกินาวะและสถาปนาอาณาจักรรีวกีว ได้ทรงใช้ปราสาทชูริเป็นที่ประทับ และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เมืองชูริได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นจนได้รับการยกฐานะเป็นเมืองหลวง ต่อมาอีก 450 ปีหลังจากเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมืองชูริกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรรีวกีว และยังเป็นหัวใจหลักทางด้านการค้ากับต่างประเทศ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมของรีวกีว แผนผังตัวปราสาท : 1: Seiden; 2: Hokuden; 3: Nanden; 4: Houshinmon;...
Read More
เทมปุระ อาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ที่มาของเทมปุระ                                                                                 เท็มปูรายาไต (ซุ้มขายเท็มปูระ) ของยุคเอโดะ มิชชันนารีโปรตุเกสนำสูตรการทำเท็มปูระนำเข้ามายังญี่ปุ่นที่เมืองนางาซากิคณะเยซูอิต เมื่อ ค.ศ. 1549 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับที่อาหารญี่ปุ่นเช่น ปังโกะ หรือ ทงกัตสึ ได้รับการคิดค้นโดยชาวโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่กล่าวว่า โทกูงาวะ อิเอยาซุ โชกุนคนแรกแห่งเอโดะ โปรดปรานเท็มปูระเป็นอย่างมาก แต่เดิม ตั้งแต่ยุคเซ็งโงกุ เท็มปูระเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหมู่ผู้สัญจรริมถนนที่เรียกว่า “ยาไต”...
Read More
เทศกาลกิออนมัตสุริ Gion Matsuri เทศกาลกิออนมัตสุริ(Gion Matsuri) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่นเลยนะคะ ซึ่งเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยศาลเจ้ายาซากะ(Yasaka Shrine)อันแสนจะโด่งดังแห่งเมืองเกียวโต(Kyoto)ที่จะจัดเป็นประจำในช่วงวันที่ 1 – 31 กรกฎาคมของทุกปีนั่นเองค่ะ บอกได้คำเดียวว่าเป็นเทศกาลที่ทำให้บรรยากาศภายในเมืองคึกคักกันถึงขีดสุด เพราะมีกิจกรรมทั้งหลากหลายและเต็มไปด้วยสีสัน มีทั้งขบวนแห่เกี้ยว(Yamaboko Junko)ในวันที่ 17 ที่มีความงดงามตระการตามากเป็นพิเศษ ความสนุกสนานไปกับงานเฉลิมฉลองของขบวนโยอิยามะ(Yoiyama)ในตอนเย็น รวมทั้งวันที่ 24 กรกฎาคมยังจะมีขบวนแห่ครั้งที่สองซึ่งเล็กกว่าขบวนแรกแต่ความสวยนี่ก็กินกันไม่ลงเชียว ถ้าจะพูดถึงภาพรวมของกิจกรรมหลักของเทศกาลกิออนมัตสุรินั้นไฮไลท์ของการจัดกิจกรรมจะเกิดขึ้นในย่านกิออนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำคาโม(Kamo River) ในช่วง 3 วันของการแห่ขบวน จะเป็นการแห่ยมราชยามะ(yama) และโฮโกะ(hoko) ตั้งแต่ครึ่งกิโลเมตรของสี่แยกถนน Karasuma และถนน Shijo ในช่วงตั้งแต่เวลา 18:00-23:00 จะปิดการจารจรเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดซุ้มจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และจัดกิจกรรม ได้แก่ วันที่ 16 ก.ค. เรียกว่าโยอิยามะ(Yoiyama) วันที่ 15 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิยามะ(Yoiyoiyama) และวันที่ 14 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิโยอิยามะ จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม เป็นขบวนแห่เล็กๆโดยไม่ปิดถนน
Read More
ต้นกำเนิด     คำว่า ซาชิมิ หมายถึง “ร่างกายที่ถูกเจาะ” กล่าวคือ 刺身 = ซาชิมิ ซึ่ง 刺し = ซาชิ (เจาะ, ทิ่มแทง) และ 身 = มิ (ร่างกาย เนื้อสัตว์) คำนี้มีใช้ตั้งแต่ยุคมูโรมาจิ และเป็นไปได้ว่าได้รับการบัญญัติขึ้นเมื่อคำว่า 切る = คิรุ (ตัด) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำอาหารถูกมองว่าอัปมงคลเกินไปสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ซามูไร คำนี้อาจแผลงมาจากการฝึกแทงหางและครีบปลาให้เป็นแผ่นบาง ๆ ในการระบุชนิดของปลาที่กำลังกิน ชื่อนี้มีความเป็นไปได้อีกอย่างว่ามาจากการจับปลาด้วยวิธีดั้งเดิม โดยปลา “ระดับซาชิมิ” จะถูกจับโดยใช้เบ็ดมือ ทันทีที่ปลาถูกจับได้ สมองของมันจะถูกแทงด้วยของมีคม จากนั้นปลาจะถูกนำไปวางบนน้ำแข็ง การใช้ของมีคมนี้เรียกว่า อิเกจิเมะ (Ike jime) และการที่ปลาตายทันทีหมายความว่าเนื้อปลาประกอบด้วยกรดแล็กติกปริมาณเล็กน้อย แสดงว่าปลาจะยังสดหากวางบนน้ำแข็งเป็นเวลา 10 วัน โดยไม่เปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเสีย ชาวต่างชาติ (ที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น) หลายคนใช้คำว่าซาชิมิและซูชิในความหมายเดียวกัน แต่อาหารทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน ซูชิคืออาหารจานใด ๆ ที่ทำด้วยข้าวญี่ปุ่นผสมน้ำส้มสายชู และแม้ว่าปลาดิบหรือซาชิมิจะเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งของซูชิดั้งเดิม แต่ซูชิหลายชนิดก็โปะหน้าด้วยอาหารทะเลที่ปรุงสุกแล้ว และอีกหลายชนิดก็ไม่ได้โปะหน้าด้วยอาหารทะเลเลย
Read More
พิธีชงชา  พิธีชงชา หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าซะโด (Sadou) หรือ ฉะโด (Chadou) แปลว่าวิถีแห่งชา เป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่แฝงให้เห็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่มีความเรียบง่าย ประณีต และพิถีพิถัน ชาที่นำมาใช้ชงนั้นเป็นชาบดจนเป็นผงละเอียดเรียกว่ามัทฉะ (Matcha) ขั้นตอนการชงคือตักมัทฉะใส่ถ้วย ตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป ใช้ไม้คนจนชาเป็นฟองก็เป็นอันเสร็จ จากนั้นก็ยกถ้วยชาเสิร์ฟให้กับแขก ซึ่งมักจะดื่มคู่กับขนมหวานชิ้นเล็กๆ เพื่อตัดความขมของชา     ประวัติความเป็นมา การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมจากประเทศจีนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น โดยพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญแล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น ในอดีตการดื่มชาเป็นที่นิยมกันในหมู่นักรบ ขุนนาง ตลอดจนพ่อค้าชาวเมืองที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่ต่อมาท่าน เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu) ได้ทำให้พิธีชงชากลายเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีแบบแผนอย่างในปัจจุบัน โดยตัดรูปแบบการเลี้ยงชาที่ฟุ่มเฟือยออกไป เน้นความเรียบง่าย จริงใจ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยจิตใจที่สงบและบริสุทธิ์ โดยมีหลักของศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) เข้ามาด้วย อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชา คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา ชะฉะคุ...
Read More