บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

คิวโด : ศิลปะอันน่าทึ่งของการยิงธนูแบบญี่ปุ่น

แนะนำ 5 กีฬาที่น่าไปชมถึงขอบสนามในญี่ปุ่น | All About Japan

คิวโด (弓道) มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับกีฬายิงธนูสากล แต่ก็มีองค์ประกอบทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คิวโดเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักของญี่ปุ่น ฝึกฝนโดยทั้งผู้เรียนและปรมาจารย์ ถูกพัฒนาขึ้นโดยเหล่านักรบซามูไรและพระในสายเซนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ส่งผลให้เกิดศิลปะแห่งความงาม ทักษะ และความละเมียดละไม

คิวโดคืออะไร?

ออกศึกครั้งแรกกับการแข่งขันคิวโด - GotoKnow

คิวโดเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่มีพื้นฐานมาจากการยิงธนูแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม และแปลว่า ‘วิถีแห่งธนู’ เดิมทีได้รับการพัฒนาสำหรับการล่าสัตว์และถูกพัฒนาจนสมบูรณ์แบบโดยซามูไร มันได้รับบทบาทให้เป็นวิถีทางจิตวิญญาณและได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนาสายเซน (ฌาณ) ปัจจุบัน มีการฝึกฝนคิวโดไปทั่วโลก และถือเป็นเส้นทางสู่ความสงบทางจิตวิญญาณ ความจริง และความงาม

ประวัติความเป็นมาของคิวโด

92 ideias de Archery. | arco e flecha, arte samurai, flechas

การยิงธนูนั้นเป็นศาสตร์ที่ฝึกฝนกันโดยเหล่านายพรานทั่วโลกมานานหลายศตวรรษ และแม้ว่ามันอาจเริ่มต้นมาจากความต้องการพื้นฐาน คิวโดก็ได้พัฒนาเป็นศิลปะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศิลปวัตถุเกี่ยวกับการยิงธนูที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นมีขึ้นในยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล – 300 ปีหลังคริสตกาล) และภาพที่วาดจากยุคหินตอนปลายในญี่ปุ่นแสดงให้เห็นตำแหน่งที่โดดเด่นของที่จับ (เรียกว่า นิกิริ 握り) ที่ปลายล่างสุดของคันธนูขนาดใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงความเก่าแก่ของการออกแบบคันธนูแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม

ในช่วงที่ปกครองโดยระบบศักดินาของญี่ปุ่น (1185-1600) วิชายิงธนูได้รับการฝึกฝนโดยผู้ที่อยู่ในวรรณะซามูไรควบคู่ไปกับวิชาดาบ ในขณะที่อย่างหลังนั้นเป็นที่รู้จักมากกว่า แต่อย่างแรกซึ่งเรียกว่า คิวจุตสึ (弓術 ศาสตร์แห่งธนู) ก็มีคุณค่ามากและมักใช้เป็นเครื่องระบุว่าซามูไรคนนั้นเป็นนักรบมืออาชีพ มักใช้ขณะอยู่บนหลังม้า ทักษะที่จำเป็นในการยิงให้ได้ประสิทธิภาพก็มากโข จึงมีโรงเรียนสอนยิงธนูเปิดสอนในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 15 Heki Danjo Masatsugu (日置弾正政次) ได้พัฒนาวิธีการสอนยิงธนูแบบ ‘ฮิ คัน ชู’ (飛・貫・中) ซึ่งหมายถึง ‘เหิน ทะลวง กลาง’ ซึ่งปฏิวัติการสอนการยิงธนู ในศตวรรษที่ 16 ปืนคาบศิลาเข้ามาแทนที่ในการต่อสู้ แต่การยิงธนูยังคงเป็นทักษะที่ฝึกฝนกันโดยสมัครใจในวรรณะซามูไร และได้รับบทบาทในฐานะวิถีทางจิตวิญญาณและพิธีกรรมในหมู่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาสายเซน พระที่ทำหน้าที่เป็นครูฝึกได้พัฒนาคิวโดโดยเน้นที่ปรัชญาและด้านจิตวิญญาณของการยิงธนู

เมื่อซามูไรสูญเสียอำนาจในช่วงยุคเมจิ ความนิยมของคิวโดก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มปรมาจารย์คิวโดที่อุทิศตนเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ศาสตร์นี้ไว้ สหพันธ์คิวโดแห่งญี่ปุ่นรวมถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1949 และมีผู้ฝึกฝนนับพันคนทั่วโลก

ปรัชญาของคิวโด

kyudo Archives - The Infinite Curve

ที่สหพันธ์คิวโดแห่งญี่ปุ่นได้อธิบายไว้คือ การบรรลุ ชิน-เซน-บิ (真善美) ซึ่งหมายถึงความจริง ความดี และความงดงาม สิ่งนี้สะท้อนถึงความแม่นยำและความสง่างามของการยิง แต่ยังรวมถึงจิตวิญญาณและทัศนคติที่ดีงามของผู้ฝึกในศาสตร์นี้ที่เรียกว่าคิวโดกะ (弓道家 ผู้ฝึกฝนวิถีธนู) ชิน สะท้อนความเชื่อที่ว่าการยิงแม่นยำไม่มีความลวง โดยความแม่นยำของการยิงจะวัดจาก ซาเอะ (冴 ความสงบ) สึรุเนะ (弦音 เสียงสายธนูเมื่อปล่อย) และเทคิจู (的中 ความแม่นยำในการโดนเป้า) องค์ประกอบของ เซน สะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นทางจริยธรรมของคิวโด โดยผสมผสาน เร (礼 มารยาท) และ fuso (不争 การไม่ประจันหน้า) เข้าด้วยกันเพื่อให้สงบและนิ่งโดยแสวงหาความสงบผ่านการโฟกัส องค์ประกอบสุดท้าย บิ ถูกพบในสององค์ประกอบก่อนหน้า ด้วยความมีเกียรติและความกลมกลืนที่มอบความงามที่แท้จริง แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในคิวโดเอง แต่ก็คาดหวังว่าองค์ประกอบเหล่านี้จะขยายไปสู่ชีวิตประจำวันซึ่งดำเนินการโดยคิวโดกะตลอดเวลาและสะท้อนถึงวิถีชีวิตของพวกเขา

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับคิวโด

Pin on Archery

คิวโดนั้นต้องการเพียงอุปกรณ์ไม่กี่อย่าง แต่คุณภาพและฝีมือของสิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญ แม้ว่าอุปกรณ์ทดแทนที่ทันสมัยกลายเป็นเรื่องปกติกันมากขึ้น การใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมเช่นกัน

เสื้อผ้าที่สวมใส่สำหรับการฝึกคิวโด

神奈川県の弓道体験人気体験ランキング | aini(アイニ)|夢中が集まる体験プラットフォーム

นอกจากอุปกรณ์พิเศษแล้ว การสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับคิวโดก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และยังสะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพและความจริงจังของการฝึกคิวโดอีกด้วย

ยุกาเกะ (弓弽): ถุงมือ

ถุงมือเป็นส่วนสำคัญของการฝึกคิวโดและมักจะทำมาจากหนังกวาง มักจะมีส่วนนิ้วหัวแม่มือที่ด้านแข็งและข้อมือที่แข็งแรงและสามารถใช้งานได้นานหลายปีเมื่อได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ถุงมือมีสามประเภท ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประเพณีของศิลปะและระดับการฝึก ได้แก่ มิตสึกาเกะ (三つがけ สวมสามนิ้ว) ยตสึกาเกะ (四つがけ สวมสี่นิ้ว) หรือ โมโรกาเกะ (諸弽 สวมครบห้านิ้ว) และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีผลต่อความคล่องแคล่วของผู้ยิง

วาฟุกุ (和服) หรือ คิวโดกิ (弓道着): ชุดยิงธนู

การสวมวาฟุกุซึ่งคล้ายกับชุดกิโมโนเป็นเรื่องปกติในระหว่างการแข่งขันหรืองานต่าง ๆ ส่วนคิวโดกิเป็นชุดที่นิยมสวมใส่เพื่อฝึกซ้อม เมื่อสวมใส่อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ ฮากามะที่นุ่งควรเป็นแบบกางเกง และท่อนบนสีขาวเป็นสีถึงจะเหมาะสมที่สุด องค์ประกอบยิบย่อยของเครื่องแต่งกายก็ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเช่นกัน รวมถึงทาบิ (ถุงเท้าแบบแยกนิ้ว) ซึ่งจะต้องเป็นสีขาว และรูปลักษณ์โดยรวมควรสะอาด ดูดี และให้เกียรติคนอื่น ๆ

มุเนะอะเตะ (胸当て): เครื่องป้องกันหน้าอก

เมื่อฝึกคิวโด นักธนูหญิงสามารถสวมแผ่นป้องกันอกเพื่อป้องกันไม่ให้โดนสายธนูดีดเมื่อยิง มูเนะอะเตะโดยทั่วไปทำจากหนังหรือพลาสติก

ทำความเข้าใจกับการแข่งขันคิวโด

Kyudo, the way of the bow and the pursuit of Zen in archery | World Archery

แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนที่เป็นคิวโดกะจะเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน และเลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบทางจิตวิญญาณและการฝึกตนเองของวิถีธนูแทน แต่ก็มีการแข่งขันที่จัดขึ้นทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ การแข่งขันมีพิธีการในระดับสูง รวมทั้งวิธีการที่นักธนูเข้าสู่ห้องโถง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการโค้งคำนับไปยังผู้ตัดสิน การเดินเข้าใกล้เส้นแนวยิงและคุกเข่า ก่อนที่จะโค้งคำนับมาโต้ (的 เป้า) เข้าใกล้แนวยิงและทำกระบวนการฮัสเซทสึ (八節 การยิงแปดขั้นตอน) โดยองค์ประกอบทั้งหมดทำพร้อมกันกับนักธนูอีก 3-4 คน

สำหรับการแข่งขันในญี่ปุ่น นักธนูแต่ละคนจะใช้ลูกศรสองชุด ชุดละสองดอก โดยนักธนูทุกคนจะยิงธนูคนละหนึ่งดอกเวียนกันตามลำดับ

วิธีการได้รับคะแนน

เมื่อยิงโดนมาโตะ (กระดานเป้า) สำเร็จ นักธนูจะได้รับเครื่องหมายมารุ (丸 วงกลม) และหากพลาดเป้า จะได้รับเครื่องหมายบัตสึ (バツ กากบาท) นักธนูมีเป้าหมายคือการยิงให้เข้ามาโตะด้วยลูกศรทั้งสี่ดอกที่ใช้ยิงออกไป